เนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำในการพัฒนาการเลี้ยงไก่โตช้าจากแบรนด์
“ไก่ของวันพรุ่งนี้ (Chicken of Tomoorrow)” สำหรับร้านค้าปลีก
เช่นเดียวกับฝรั่งเศสก็เป็นหัวหอกหลักในการเลี้ยงสัตว์ปีกในชนบท
เหตุผลหลักที่ให้กำเนิดตลาดพรีเมียมในฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์
ช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
สำหรับฝรั่งเศสแล้วเป็นผู้นำในตลาดทางเลือกใหม่มานานกว่า ๖๐ ปีแล้วจากแบรนด์ “ลาเบล รุช (Label Rouge)” และให้การรับรองฟาร์มที่สามารถผลิตได้ตามมาตรฐานนี้
พลังขับเคลื่อนที่สำคัญมาจากครัวของฝรั่งเศสที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าด้านประเพณี
คุณภาพ และรสชาติแบบอาหารฝรั่งเศส ขณะที่ในประเทศเนเธอร์แลนด์
พลังขับเคลื่อนกลับมาจากหลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ถูกรณรงค์โดยรัฐบาลดัทช์เองในช่วงต้นสหัสวรรษใหม่ปี
๒๐๐๐ โดยการตั้งคำถามไปยังผู้ประกอบการให้พยายามหาไก่จากฟาร์มชาวบ้าน
แล้วจึงเกิดความร่วมมือกันระหว่างบริษัทผู้ผลิตไก่สัญชาติฝรั่งเศสอย่างฮับบาร์ด
มหาวิทยาลัยวานิงเก้น (Wageningen
Univerisity) บริษัทด้านอาหารสัตว์คอพเพนส์ (Coppens Animal
Nutrition) และผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเนเธอร์แลนด์อย่างเอเอช (AH)
และจัมโบ้ (Jumbo) ร่วมกับสมาคมสวัสดิภาพสัตว์แห่งดัทช์
(Dutch Animal Welfare Association) จนกระทั่งกำเนิดเป็นมาตรฐาน
“ชีวิตที่ดีกว่าเดิม ๑ ดาว (Better
Life 1 star, Beter Leven)” ที่ใช้ระบบการเลี้ยงไก่ภายในโรงเรือน
โดยมีพื้นที่เพิ่มเติมภายนอกใต้หลังคาโรงเรือนเดียวกัน ตลาดเนื้อไก่โตช้าในเนเธอร์แลนด์คิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ
๒๐ และแบรนด์ได้ติดตาเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดของผู้ให้การรับรองมาตรฐานชีวิตที่ดีกว่าเดิมนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์
https://beterleven.dierenbescherming.nl/
ในภาษาเนเธอร์แลนด์
อย่างไรก็ตาม
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. ๒๐๑๓
เมื่อร้านค้าปลีกทุกร้านตัดสินใจเปลี่ยนจากการสั่งซื้อเนื้อไก่สดทั่วไปเป็นเนื้อไก่ที่เลี้ยงโตช้า
สืบเนื่องจากการรณรงค์อย่างแข็งขันของกลุ่มนักเคลื่อนไหว เว้กเกอร์ ไดเออร์ (Wakker Dier) ชื่อไทยๆก็อาจเป็นทำนองว่า ปลุกระดมสัตว์ให้รุกขึ้นสู้ (awoken animal)
โดยในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ กดดันร้านค้าปลีกให้ขอร้องผู้ซื้อเลิกซื้อ “เนื้อไก่ระเบิด หรือพลอฟคิป (Plofkip)”
คำศัพท์ภาษาเนเธอร์แลนด์ที่ถูกค้นหามากที่สุดในกูเกิ้ล คำว่าพลอฟคิป
ถูกรณรงค์เป็นกระแสสาธารณะ และกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้มแข็ง รวมถึง
การตัดสินใจร่วมกันของห้างร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต
ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมหน้าการค้าปลีกเนื้อไก่ภายในระยะเวลาเพียงสามปี
เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเอกลักษณ์ของชาวเนเธอร์แลนด์
และเชื่อได้ว่าคงไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆในประเทศอื่นๆในโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๗
เป็นต้นมา เนื้อไก่สดที่จำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของเนเธอร์แลนด์ก็มาจากสายพันธุ์ไก่โตช้า
ภาพที่ ๑ ตัวอย่างสินค้าเนื้อไก่ที่ประกาศขายในเว็บไซต์
ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเครื่องหมายแสดงมาตรฐานทั้งลาเบล รุช ของฝรั่งเศส และมาตรฐาน
ชีวิตที่ดีกว่าเดิม ของเนเธอร์แลนด์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น