วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เนื้อไก่โตช้ายึดครองตลาดดัทช์สำเร็จ


ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่หลายชนิดที่มีการจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซูเปอร์มาร์เก็ตในเนเธอร์แลนด์ที่จำหน่ายเนื้อไก่โตเร็วที่เลี้ยงในฟาร์มเชิงพาณิชย์ทั่วไปยากที่จะหาซื้อได้อีกต่อไปแล้ว

              องค์กรซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อว่า Central bureau of foddstuffs (CBL) เคยแสดงวิสัยทัศน์ไว้ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๓ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เนื้อไก่อีกหลากหลายชนิดจะเข้าสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตในเนเธอร์แลนด์การหารือระหว่างผู้ประกอบการผลิตเนื้อไก่ โรงเชือด ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในช่วงเวลานั้นได้ประกาศ ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคไก่ของวันพรุ่งนี้บนชั้นวางสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตยุโรปจะต้องเกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ เป็นอย่างช้า แสดงให้เห็นถึง ความต้องการของผู้บริโภคในมุมมองด้านสวัสดิภาพสัตว์ โดยการใช้พันธุ์ไก่โตช้า พื้นที่การเลี้ยงไก่ในโรงเรือนมากขึ้น การกำหนดเวลากลางวัน และกลางคืนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ และการจัดอุปกรณ์ของเล่นไว้ในโรงเรือน ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และการเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกใช้ถั่วเหลืองในอาหารสัตว์ การปลดปล่อยแอมโมเนีย และฝุ่น และวงจรการบริหารสารเคมีแบบปิด

              เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ภายหลังการเปิดวิสัยทัศน์ไว้ ซูเปอร์มาร์เก็ตเกือบทุกหนทุกแห่ง ยกเลิกการจำหน่ายเนื้อไก่ที่เลี้ยงแบบโตเร็วอย่างที่เคยปฏิบัติมาเนิ่นนาน ผู้ประกอบการร้านซูเปอร์มาร์เก็ตปรับเปลี่ยนพร้อมกันหมด เปลี่ยนแนวความคิดการผลิตไก่ใหม่ โดยใช้ชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปอย่าง Good Nest Chicken, New Standard Chicken, Slow Growing Chicken, Chicken with Plume Guarantee, Gildehoen, Aunt Door และ Comfort Chicken เป็นต้น นอกเหนือจาก สินค้าพรีเมียมสำหรับตลาดพิเศษที่ยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงที่สูงขึ้นไปเป็นแบบ extensive indoor โดยใช้มาตรฐาน Better Life 1 star และไก่อินทรีย์โดยใช้มาตรฐาน (Better Life 3 stars)

              เมื่อต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๕ องค์กรต่อต้านการผูกขาดตลาด ตัดสินว่าข้อตกลงระหว่างผู้ประกอบการร้านซูเปอร์มาร์เก็ต และผู้ผลิตเนื้อไก่ว่า ด้วยการผลิตไก่ของวันพรุ่งนี้ ขัดแย้งกับข้อห้ามเรื่องการผูกขาดทางธุรกิจ เนื่องจาก ผู้บริโภคยินดีจ่ายสำหรับการผลิตเนื้อไก่อย่างยั่งยืน แต่ไม่ยอมจ่ายสำหรับการพัฒนาปรับปรุงด้านสวัสดิภาพสัตว์ ตามแนวความคิดการผลิตไก่ของวันพรุ่งนี้ยึดถืออยู่ กลุ่มองค์กรคุ้มครองสิทธิของสัตว์ เวกเกอร์ ไดเออร์ (Wakker Dier หรือ Awaken Animals) ชื่นชมกับคำตัดสินใจดังกล่าว เนื่องจาก ตั้งแต่เริ่มต้นมาแล้ว องค์กรฯนี้ เห็นว่าแนวความคิดไก่ของวันพรุ่งนี้ยังเป็นแผนปฏิบัติที่ยังไม่ดีเพียงพอที่จะไปทดแทนการเลี้ยงไก่โตเร็ว หรือไก่พลอฟคิป ไก่ระเบิดที่เป็นวาทกรรมรณรงค์ต่อต้านการเลี้ยงไก่โตเร็วอย่างต่อเนื่องตลอดมา ตามแนวความคิดดังกล่าว ยังไม่ครอบคลุมด้านสวัสดิภาพสัตว์ จนกระทั่งปี ค.ศ. ๒๐๑๖ ผู้ประกอบการร้านซูเปอร์มาร์เก็ตก็เปลี่ยนไปยอมรับแนวความคิดขององค์กรฯ ดังกล่าวในที่สุด

              ซูเปอร์มาร์เก็ตเกือบทุกแห่งปรับเปลี่ยนสินค้าพื้นฐานที่จัดวางบนชั้นแสดงสินค้าในร้าน โดยเริ่มจากการจำหน่ายสินค้าตามแนวความคิดของไก่ของอนาคตแบบดั้งเดิม ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ Albert Heijin ได้สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับทุกคน เพื่อนำสินค้าใหม่ New AH Chicken นับเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตรายแรกที่เริ่มต้นก่อนรายใดๆ จนกระทั่ง ซูเปอร์มาร์เก็ตรายอื่นๆพยายามทำตามบ้าง เนื่องจาก ความต้องการสินค้าลักษณะดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น การเลี้ยงไก่ตามแนวความคิดไก่ของอนาคตแบบดั้งเดิมจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด ๕๐ กรัมต่อวัน ความหนาแน่นการเลี้ยง ๓๘ กิโลกรัมต่อตารางเมตร และกำหนดให้ใช้ก้อนฟางเป็นของเล่นไว้ในโรงเรือน

              ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๒๐๑๔ ผู้ประกอบการซูเปอร์มาร์เก็ตรายต่อมา Jumbo เริ่มใช้มาตรฐานใหม่ New Standard Chicken ที่สูงกว่ามาตรฐานพื้นฐานของแนวความคิดการเลี้ยงไก่ของอนาคต โดยอัตราการเจริญเติบโตต่อวันราว ๔๕ กรัม ขณะที่ ไก่เนื้อโตเร็วตามปรกติเป็น ๖๐ ถึง ๖๕ กรัม ความหนาแน่น ๓๐ กิโลกรัมต่อตารางเมตร ขณที่ไก่เนื้อโตเร็วตามปรกติเป็น ๔๒ กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยมาตรฐาน New Standard Chicken กำหนดให้ต้องมีแสงแดงส่องถึงได้ในโรงเรือน และโปรยเมล็ดธัญพืชให้ไก่จิกกินเล่นได้

              นับตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๒๐๑๖ เป็นต้นมา เนื้อไก่โตเร็วตามปรกติก็ไม่มีจำหน่ายในร้านซูเปอร์มาร์เก็ตสองรายใหญ่ที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์อีกต่อไป การบริโภคไก่ในประเทศเนเธอร์แลนด์เกือบครั้งหนึ่งไม่ใช่ไก่โตเร็วข้ามคืนอีกต่อไป 

            ไก่โตเร็ว หรือไก่พลอฟคิป ไก่ระเบิด หรือไก่พองลม หมายถึง การเลี้ยงไก่เนื้อโตเร็วตามปรกติที่นิยมเลี้ยงกันทั่วโลก ปลายปี ค.ศ. ๒๐๑๗ เป็นต้นมา ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่จะไม่มีโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกอีกแล้วว่าจะซื้อไก่เนื้อโตเร็ว หรือไก่เนื้อที่มุ่งเน้นสวัสดิภาพสัตว์ จะมีแต่สินค้าเนื้อไก่ที่ผ่านมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์เท่านั้นที่วางจำหน่ายบนชั้นวางสินค้า



สินค้าเนื้อไก่ที่มีคุณภาพดีขึ้น และใช้ยาปฏิชีวนะลดลง

              นอกเหนือจาก สวัสดิภาพสัตว์ที่ดี การเลี้ยงไก่เนื้อให้มีความสุข ปราศจากความทุกข์ทรมานทั้ง ๕ ตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ ได้แก่ ปราศจากความหิว/กระหาย ปราศจากความทุกข์กาย ปราศจากความเจ็บปวดหรือเจ็บป่วย อิสรภาพในการแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติ และปราศจากความกลัว สัตว์จึงไม่ต้องประสบความทุกข์ทรมานตลอดการเลี้ยงในฟาร์ม ผู้ประกอบการยังได้ประโยชน์จากคุณภาพของเนื้อไก่เป็นผลพลอยได้ ปัญหาคุณภาพเนื้อไก่พบได้เสมอในการเลี้ยงไก่โตเร็วตามปรกติ แต่การเลี้ยงไก่โตช้า ปัญหาคุณภาพเนื้อไก่แทบจะไม่ปรากฏให้เห็นเลย ปัญหาโลกแตกที่แก้ไม่ตกมาหลายปี พยายามค้นหาวิธีแก้ไขอย่างกล้ามเนื้ออกแข็งเหมือนไม้ กล้ามเนื้อลายเป็นทางสีขาว หรือกล้ามเนื้อยุ่ยเป็นเส้นสปาเก๊ตตี้ เห็นเส้นใยกล้ามเนื้อฉีกเป็นชิ้นๆก็จะค่อยๆคลี่คลายหายไป โดยไม่ต้องเสียเวลาวิจัยอีกต่อไป ยิ่งปัญหาสำคัญของยาปฏิชีวนะตกค้าง สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อทั้งในมนุษย์ และสัตว์ ความต้องการของตลาดเนื้อไก่ที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ฟาร์มเลี้ยงไก่โตช้าอาจเป็นทางออกที่ช่วยใช้ยาปฏิชีวนะถูกใช้ลดลง หรือไม่ต้องใช้อีกต่อไปเลย 



เนื้อไก่โตเร็วหายไปจากชั้นวางสินค้า

              องค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างเวกเกอร์ ไดเออร์ กระตือรือร้นมากให้ยกเลิกการวางสินค้าเนื้อไก่โตเร็ว หรือไก่ระเบิด หรือไก่พองลมจากชั้นจำหน่ายสินค้าอาหารสดในซูเปอร์มาร์เก็ต ต่อไปเนื้อไก่แปรรูปก็จะต้องคล้อยตามกันไป โดย Jumbo และ Albert Heijn นำร่องไปก่อนแล้ว แต่ก็ยังมีร้านจำหน่ายสินค้ารายย่อย เช่น Emté และ Jan Linders ยังไม่ได้เลิกขายเนื้อไก่โตเร็ว แต่เชื่อว่าในไม่ช้าร้านค้าเหล่านี้ก็ต้องถูกกระแสกดดันให้ต้องปฏิบัติตามต่อไป ตอนนี้ก็ประสบความสำเร็จไปได้ครึ่งทางแล้วสำหรับการรณรงค์ด้านสวัสดิภาพสัตว์ อย่างการทำร้ายสัตว์ การทารุณสัตว์ ลดลงไปมาก



การเปลี่ยนผ่านที่รวดเร็ว

              การเปลี่ยนผ่านของสินค้าเนื้อไก่จากไก่โตเร็วกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆหลายชนิดในตลาดไก่โตช้า ส่งผลต่อขั้นตอนการผลิตตลอดห่วงโซ่ รวมถึง สายพันธุ์ไก่ สายพันธุ์ฮับบาร์ดมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายครอบคลุมเกือบทุกมาตรฐานการผลิตไก่โตช้า ขณะเดียวกัน บริษัทผู้ผลิตสายพันธุ์อื่นๆรายใหญ่ เช่น รอส และคอบบ์ ก็กำลังมองตลาดไก่โตช้านี้อยู่อย่างใกล้ชิด

              จำนวนไก่โตช้าที่เข้าเชือดในประเทศเนเธอร์แลนด์ราว ๒.๗ ล้านตัวต่อสัปดาห์ ครอบคลุมร้อยละ ๙๐ ของยอดจำหน่ายไก่ในซูเปอร์มาร์เก็ต สำหรับตลาดเนื้อสด ซูเปอร์มาร์เก็ตในเนเธอร์แลนด์ยังต้องการไก่เนื้อราว ๓ ล้านตัวต่อสัปดาห์ แสดงว่า แนวโน้มปริมาณความต้องการเริ่มทรงตัว หลังจากเพิ่มเป็นกราฟเส้นตรงมาต่อเน่องสองปี คาดว่าร้อยละ ๒๐ ของไก่เนื้อโตช้าจำนวน ๒.๗ ล้านตัวใช้มาตรฐานที่สูงกว่า Better Life 1 ดาว ที่เหลืออีกร้อยละ ๘๐ เป็นมาตรฐานใหม่ที่แต่ละซูเปอร์มาร์เก็ตกำหนดไว้เอง

              องค์กรด้านสวัสดิภาพสัตว์เวกเกอร์ ไดเออร์คิดว่า เนื้อไก่ในซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งหมดจะได้นมาตรฐานที่สูงกว่า Better Life 1 ดาวในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ หนึ่งในสามจากฟาร์มทั้งหมด ๕๐๐ แห่งทั่วประเทศในเนเธอร์แลนด์หันมาเลี้ยงไก่โตช้าแล้ว นับตั้งแต่การนำกระแสไก่ของวันพรุ่งนี้ (Kip van Morgen, Chicken of Tomorrow) เข้ามา ผู้บริโภคคาดหวัง และพร้อมที่จะจ่ายให้กับเนื้อไก่ที่ได้รับมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างน้อยก็สักดาวหนึ่งก็ยังดี



แรงขับดันจากความต้องการตลาด

              ปัจจุบัน การผลิต และความต้องการของตลาดสำหรับเนื้อไก่โตช้าสำหรับซูเปอร์มาร์เก็ตในเนเธอร์แลนด์ สอดรับกันเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการผลิตไก่เนื้อบางรายก็ยังคงลังเลใจ เพราะราคาของเนื้อไก่โตช้าสูงกว่าปรกติมาก การปรับเปลี่ยนการเลี้ยงใหม่ก็เป็นเรื่องใหญ่มากตั้งต้นตั้งแต่ฟาร์มไก่พันธุ์ไปจนถึงไก่เนื้อ  



ตลาดไก่เนื้อโตช้าประเทศอื่นๆ

              ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นหนึ่งเดียวที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆใดในโลกที่มีการหมุนกลับตัวจากเนื้อไก่โตเร็วตามปรกติเป็นเนื้อไก่โตช้าบนชั้นวางสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต ในประเทศอื่นๆก็กำลังปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน แต่คงยังไม่รวดเร็วเท่าเนเธอร์แลนด์ได้อีกแล้ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์เกิดจากแรงกดดันขององค์กรไม่แสวงหารายได้อย่างเวกเกอร์ ไดเออร์ที่หันไปรณรงค์กับผู้ประกอบการค้าปลีก และโรงเชือด เชื่อได้ว่าไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในประเทศอื่นๆ ยกตัวอย่างในอังกฤษ ความต้องการเนื้อไก่ดังกล่าวเริ่มต้นมา ๑๕ ปีแล้ว แต่ยอดจำหน่ายในตลาดยังคงมีสัดส่วนเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้น อัตราการเติบโตยังคงนิ่งมากในเวลานี้ เช่นเดียวกับในฝรั่งเศส ร้อยละ ๔๐ ของตลาดเป็นเนื้อไก่โตช้า ยิ่งในประเทศอื่นๆผู้บริโภคยังยากที่จะจ่ายให้กับเนื้อไก่โตช้า ตลาดเนื้อไก่โตช้าจะเกิดขึ้นได้เฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญต่อสวัสดิภาพสัตว์ 

   

เอกสารอ้างอิง
Swormink BK. 2017. Chicken of Tomorrow is here today. [Internet]. [Cited 2017 Mar 13]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2017/3/Chicken-of-Tomorrow-is-here-today-103092E/ 

ภาพที่ ๑ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ Albert Heijin ได้สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับทุกคนโดยวางสินค้ามาตรฐานใหม่ โดยใช้เนื้อไก่โตช้าวางจำหน่ายเป็นครั้งแรก (แหล่งภาพ https://www.esmmagazine.com/private-label/more-albert-heijn-branded-foods-to-use-responsibly-produced-meats-39228


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มิชิแกนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหวัดนก

  โรคไข้หวัดนกยังคงระบาดในสหรัฐฯ สองปีที่ผ่านมา สหรัฐฯมีไก่มากกว่า ๙๐ ล้านตัว และนกป่า ๙,๐๐๐ ตัวที่ติดเชื้อด้วยเอช ๕ เอ็น ๑    ในรอบเดือนท...