แนวทางการควบคุมแมลงปีกแข็งในฟาร์ม
แมลงปีกแข็งสามารถพบได้ในโรงเรือนเลี้ยงไก่ทั่วโลก โดยพาหะนำโรคสำคัญ ได้แก่
เชื้อไวรัสกัมโบโร เชื้อไวรัสมาเร็กซ์ และรีโอไวรัส รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เช่น อี.
โคไล และ ซัลโมเนลลา สปป. และโปรโตซัว เช่น ฮิสโตโมนาส เมเลียไกรดิส
แมลงปีกแข็งพบได้ภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกทั่วโลก
เป็นสัตว์พาหะสำหรับเชื้อไวรัสสำคัญ เช่น กัมโบโร มาเร็กซ์ และรีโอไวรัส รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย
เช่น อี. โคไล และ ซัลโมเนลลา สปป. และโปรโตซัว เช่น ฮิสโตโมนาส
เมเลียไกรดิส โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้โดยแมลงปีกแข็งผ่านการสัมผัสโดยตรง
การปนเปื้อนซ้ำของสิ่งแวดล้อมที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้วสำหรับวัสดุรองพื้นที่ผ่านการใช้งานแล้ว
หรือโดยการกินของไก่โดยตรงเก็บไว้ในร่างกาย
วงจรชีวิต
แมลงปีกแข็งมีวงจรชีวิตราว ๔๐ ถึง ๑๐๐ วันขึ้นกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
ภายหลังการผสมพันธุ์ ๑๕ วัน ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ ๒๐๐ ถึง ๔๐๐ ฟองทุก ๑ ถึง ๕
วัน หลังจากนั้น ไข่ของแมลงปีกแข็งใช้เวลาไม่เกิน ๑ สัปดาห์ฟักเป็นตัวอ่อน ดังนั้น
ประชากรของแมลงปีกแข็งสามารถเพิ่มจำนวนได้ทวีคูณหากไม่มีการควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
การควบคุม
การควบคุม หรือกำจัดแมลงปีกแข็งเป็นไปได้ยาก
แมลงเจริญเติบโตในสภาพโรงเรือนที่อุณหภูมิระหว่าง ๒๑ถึง ๓๕ องศาเซลเซียส
ความชื้นอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ แนวทางการควบคุมเบื้องต้นคือ
การสำรวจหาแหล่งพักพังของแมลงภายในโรงเรือน แมลงปีกแข็งสามารถแอบแฝงภายในโรงเรือนได้หลายตำแหน่ง
ได้แก่
๑.
วัสดุรองพื้น
๒.
ตามเสาโรงเรือง
๓.
ในผ้าม่าน
๔.
บนสแลต แพนอาหาร นิปเปิ้ล
๕.
ตามร่อง รู หรือรอยแตกตามผนังโรงเรือน
๖.
ในห้องเก็บของ และพื้นที่เก็บไข่
การใช้วิธีการกำจัดแมลงปีกแข็งทางเคมี และกายภาพเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยให้ยาฆ่าแมลงก่อนการทำความสะอาด
และการฆ่าเชื้ออย่างเข้มงวด มาตรการควบคุมจะถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดี หากประชากรแมลงปีกแข็งควบคุมไว้ได้ระหว่าง
๑ ถึง ๑๐ ตัวต่อตารางฟุต
ยาฆ่าแมลงควรฉีดพ่นทันทีภายหลังการจับไก่
และควรฉีดพ่นทั้งภายใน และภายนอกโรงเรือนเลี้ยงไก่ เมื่ออุณหภูมิโรงเรือนลดต่ำลง
แมลงปีกแข็งจะเริ่มอพยพเข้ามายังพื้นที่อบอุ่น ดังนั้น ภายนอกโรงเรือนต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงด้วย
เพื่อป้องกันการอพยพหนีไปยังโรงเรือนข้างเคียงในฟาร์ม การใช้ยาฆ่าแมลงควรใช้ก่อนที่ลูกไก่ลง
และฉีดพ่นทุกเดือนระหว่างการผลิต แต่ต้องมั่นใจว่า
ยาฆ่าแมลงได้รับการรับรองให้ได้ระหว่างที่ไก่มีชีวิตยังอยู่ภายในโรงเรือน
การใช้ยาฆ่าแมลง
การควบคุมทางเคมี คำแนะนำในการใช้ยาฆ่าแมลงพึงปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
เพื่อความปลอดภัย และการผสมยาอย่างถูกต้อง และควรหมุนเวียนตามวงจรที่ผู้ผลิตแนะนำ
๑.
ตรวจสอบให้มั่นใจว่าน้ำที่ใช้สำหรับผสมยาฆ่าแมลงมีค่าพีเอชเป็นกลาง
และปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตให้เตรียมน้ำให้เป็นกรดก่อนนำมาใช้
ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้ดีก่อนการใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน
๒.
หมุนเวียนชนิดยาฆ่าแมลงอย่างน้อยทุก ๒ ถึง ๓ รุ่น
เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงที่สุด ลดโอกาสของแมลงปีกแข็งพัฒนาภาวะดื้อยาฆ่าแมลง
ร่วมกับการควบคุมทางกายภาพ
ได้แก่
๑.
แผนการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรงเรือนที่ดี ช่วยควบคุมประชากรแมลงปีกแข็งได้มาก
๒.
ควรกำจัดแมลงปีกแข็งที่มีชีวิตให้ได้มากที่สุด
เมื่อเตรียมโรงเรือนสำหรับการทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ ก่อนการล้าง และฆ่าเชื้อโรงเรือน
๓.
เมื่อนำอุปกรณ์ภายในโรงเรือนออก ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งที่ถอดออกได้
และไม่ได้ ตรวจสอบใต้แพนอาหาร และนิปเปิล ตามผนัง และผ้าม่าน บนสแลต และรังไข่ว่า
มีร่องรอยของแมลงปีกแข็งเคยอาศัยอยู่หรือไม่
๔.
ปฏิบัติตามรายละเอียดขั้นตอนการทำความสะอาด
และฆ่าเชื้อ เพื่อให้มั่นใจว่า เศษสกปรกจากแมลงปีกแข็ง และสิ่งปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียจะถูกกำจัดออกไปทั้งหมด
๕.
โรงเรือนปิดที่มีการระบายน้ำที่ดี
และพื้นซีเมนต์เรียบ ปราศจากรอยแตก ช่วยลดประชากรแมลงปีกแข็งได้อย่างมาก
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2019. Best
Practice on Farm Guide: Darkling beetle control. [Internet]. [Cited 2019 Jul 15].
Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2019/7/Best-Practice-on-Farm-Guide-Darkling-beetle-control-450265E/
ภาพที่ ๑ วงจรชีวิตของแมลงปีกแข็งระหว่ง ๔๐ ถึง ๑๐๐
วันขึ้นกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (แหล่งภาพ pixabay)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น