วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ดัทช์ฉลุยลดยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ


ยอดการจำหน่ายยาปฏิชีวนะในภาคปศุสัตว์ลดลงร้อยละ ๖๓ ในเนเธอร์แลนด์ แสดงให้เห็นว่า ไม่พบผลกระทบทางลบต่อทั้งการผลิต หรือทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการเลี้ยงไก่เนื้ออย่างที่เกรงกลัวกันไป
               ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของผู้ประกอบการเลี้ยงไก่เนื้อในฮอลแลนด์ไม่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตไก่เนื้อเลย แถมยังทำให้ฮอลแลนด์กลายเป็นหนึ่งในประเทศแรกในโลกที่สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างมหาศาล ทั้งนี้มาจากรายงานล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ ผลการวิจัยทางเศรษฐกิจแห่งวาเกนนิงเก้น ตามข้อเรียกร้องจากกระทรวงเกษตรกรรม ธรรมชาติ และคุณภาพอาหาร

การตรวจติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคปศุสัตว์
               รัฐบาลดัทช์เริ่มตรวจติดตามการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตปศุสัตว์เป็นเวลายี่สิบปีมาแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา โดยการบันทึกยอดจำหน่ายรวมของยาปฏิชีวนะทางสัตวแพทย์ จนห้าปีต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ก็เก็บบันทึกเพิ่มเติมเป็นการใช้อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะต่อตัว จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีนโยบายใหม่ให้ลดการใช้ยาโดยตัดสินใจใช้ยาด้วยความรับผิดชอบภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน ในตอนแรก ผู้ประกอบการก็สติแตกตื่นกังวลว่า หากลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการผลิตปศุสัตว์แล้วจะส่งผลทางลบต่อประสิทธิภาพการผลิต และผลผลิตการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ในทางตรงกันข้ามนับตั้งแต่นโยบายปฏิรูปการใช้ยานี้ถูกนำไปใช้จริงก็ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าจะส่งผลต่อรายได้ของผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์แต่อย่างใด
               ต้นทุนการผลิตของภาคการผลิตไก่เนื้อ และสุกรในเนเธอร์แลนด์ก็ยังสู้กับคู่แข่งสำคัญในสหภาพยุโรปได้ทั้งเดนมาร์ก ประเทศที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะเฉลี่ยน้อย เยอรมัน ประเทศผู้ส่งออกไก่เนื้อรายใหญ่ และสเปน ประเทศที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะสูง ตามรายงานที่เชื่อถือได้นี้ก็ยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง กับการลดใช้ยาปฏิชีวนะแต่อย่างใด 

มาตรการเชิงรุกของผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์
               เมื่อปราศจากอาวุธที่คุ้นมือแล้ว ผู้ประกอบการเลี้ยงสัตว์ชาวดัทช์ก็ไม่ยอมพ่ายแพ้ พยายามแสวงหามาตรการอย่างง่าย และไม่ต้องจ่ายเงินมาก เพื่อส่งเสริมสุขภาพสัตว์ หรือสถานภาพด้านสุขภาพของฟาร์มตนเอง มุ่งเน้นเป็นพิเศษกับการจัดการสุขภาพสัตว์ เช่น การให้ความใส่ใจเพิ่มขึ้นต่อสุขอนามัย ใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกชนิดต่างที่ออกฤทธ์ต่อต้านการอักเสบ หรือใช้วัคซีนป้องกันโรคไว้ก่อนแทนที่จะรอให้ป่วยจนต้องใช้ยาปฏิชีวนะไปรักษา
ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆในภาคการผลิตไก่เนื้อดัทช์
                ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ตามอัตลักษณ์ของผู้ประกอบการเลี้ยงไก่เนื้อเนเธอร์แลนด์ย่อมไม่ยอมให้เหมือนประเทศใดในโลก ได้แก่
๑.     เปลี่ยนไปเลี้ยงไก่เนื้อโตช้า
๒.    ให้ความสำคัญกับการให้น้ำไก่กินที่สะอาด
๓.    คุณภาพลูกไก่ต้องดีเยี่ยม
๔.    การทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรงเรือนระหว่างการเตรียมโรงเรือนต้องสุดยอด
๕.    ระบบการเลี้ยงแบบเข้าพร้อมกันทั้งหมด และออกพร้อมกันทั้งหมด (All in/all out)
สิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดสำหรับการผลิตเนื้อไก่ในเนเธอร์แลนด์คือ การปรับตัวไปสู่การเลี้ยงไก่เนื้อโตช้า ช่วยให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ
เมื่อปีที่แล้ว หนึ่งในสามของการผลิตไก่เนื้อในเนเธอร์แลนด์เป็นไก่เนื้อโตช้า นับเป็นการตอบสนองต่อการรณรงค์ด้านสวัสดิภาพสัตว์ของผู้บริโภค และร้านค้าปลีกภายในประเทศ นั่นคือ การลดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเป็นรูปธรรมในการผลิตไก่เนื้อเป็นผลมาจากสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของการเลี้ยงไก่เนื้อโตช้าหนึ่งในสามของการผลิตในประเทศ  

เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2019. Dutch poultry industry not affected by antibiotic reduction. [Internet]. [Cited 2019 Jun 28]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2019/6/Dutch-poultry-industry-not-affected-by-antibiotic-reduction-443885E/9  

ภาพที่ ๑ สิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดสำหรับการผลิตเนื้อไก่ในเนเธอร์แลนด์คือ การปรับตัวไปสู่การเลี้ยงไก่เนื้อโตช้า (แหล่งภาพ Ronald Hissink)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...