กรมปศุสัตว์อินโดนีเซียบอกให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อทำลายไก่ราวสามล้านตัวเพื่อช่วยพยุงราคาเนื้อไก่
มาตรการของกรมปศุสัตว์เกิดขึ้นภายหลังเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ร้องเรียนว่า
ราคาไก่มีชีวิตตกต่ำลงกว่าราคาพื้นฐานที่รัฐบาลกำหนด และต้นทุนการผลิต
ผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพิ่มการผลิตเพื่อหวังได้เงินกลับคืนมาหลังเทศกาลอีดิลฟิฏรี (Eid-ul-Fitr) หรือวันเฉลิมฉลองการออกศีลอดของชาวมุสลิม แต่กระทรวงเกษตรอ้างว่า
ความต้องการตลาดพลิกกลับลงต่ำกว่าที่คาดไว้มาก
จนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ประท้วงด้วยการปล่อยไก่หลายพันตัวออกจากโรงเรือน ขณะที่
รัฐบาลพยายามขอให้ปลดไก่พันธุ์อายุมากกว่า ๖๘
สัปดาห์ตลอดสองสัปดาห์จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๙ กรกฏาคมที่ผ่านมา
คาดว่าจะเป็นการนำไก่ออกจากระบบราวสามล้านตัวเป็นการลดจำนวนลูกไก่เนื้อได้ราว ๑.๕
ล้านตัวต่อสัปดาห์
กระทรวงเกษตรประกาศราคาเฉลี่ยไก่มีชีวิตในอินโดนีเซียไว้ราว
๔๔.๗๖ บาทต่อกิโลกรัม เปรียบเทียบกับราคาพื้นฐานที่รัฐบาลกำหนดไว้ ๓๙.๘๖ บาท
(ราคาประกาศไก่เนื้อในประเทศไทย ๓๗ บาท) อย่างไรก็ตาม
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่กลับจำหน่ายไก่ได้ราคาเพียง ๑๕.๕๐ บาทเท่านั้น
ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในยอกยาการ์ตาร้องเรียนว่า
ธุรกิจของตนเองกำลังล้มละลายได้ ผู้เลี้ยงบางรายกลัวการเลี้ยงไก่ต่อไป
วิกฤติการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในอินโดนีเซีย เมื่อสี่ปีที่แล้ว
อินโดนีเซียก็ทำลายไก่เนื้อหกล้านตัวเพื่อควบคุมการผลิตเกินความต้องการของตลาด
ถึงเวลานี้ รัฐบาลอินโดนีเซียก็ได้เตรียมรับมือสถานการณ์ในอนาคต
หากราคาของไก่มีชีวิตยังไม่เป็นไปตามราคาที่กำหนดก็อาจต้องออกมาตรการทำลายไก่พันธุ์ที่อายุ
๖๐ สัปดาห์ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
McDougal T. 2019.
Indonesia to cull 3 million broilers. [Internet]. [Cited 2019 Jul 5]. Available
from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/7/Indonesia-to-cull-3-million-broilers-breeders-446734E/
ภาพที่ ๑
เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อินโดนีเซียปล่อยไก่จากฟาร์มระหว่างการประท้วงรัฐบาล
กรณีราคาไก่เนื้อตกต่ำ ในยอกยาการ์ตา มีภาพถ่ายไว้เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.
๒๕๖๒ (แหล่งภาพ FreeImages.com)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น