โดยไม่มีคำอธิบาย ซาอุดิอาระเบียประกาศห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากโรงเชือด ๑๑ แห่งในบราซิล
เจ็ดโรงงานที่ถูกห้ามนำเข้าซาอุฯเป็นของเจบีเอส เอสเอ อ้างตามรายงานจากสื่อธุรกิจอาหรับ บริษัทยังไม่ยืนยันรายละเอียดของสาเหตุ ขณะที่ บีอาร์เอฟ เอสเอ ไม่มีรายชื่อโรงงานที่ได้รับผลกระทบเลย โดยไม่มีการหารือกันก่อน บริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือคำอธิบายถึงสาเหตุ แต่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยสำนักอาหารและยาแห่งซาอุดิอาระเบีย ได้สั่งห้ามการนำเข้าทันทีตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคมเป็นต้นไป
ปฏิกิริยาของบราซิล
หน่วยงานรัฐบราซิลได้รับข่าวสารการตัดสินใจของซาอุดิอาระเบียด้วยความประหลาดใจ
และไม่พอใจ อ้างตามกระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงเกษตร แสดงความไม่พอใจที่ประกาศดังกล่าวไม่มีการแจ้งเตือนมาก่อน
และไม่ทราบถึงสาเหตุ เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลือโรงงานทั้ง ๑๑
แห่งได้มีโอกาสส่งออกให้ซาอุฯได้ ทั้งที่สินค้ามีมาตรฐานได้คุณภาพตลอดห่วงโซ่การผลิตของบราซิล
และได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยหน่วยงานสัตวแพทย์
รัฐบาลบราซิลกำลังพิจารณาร้องเรียนไปยังองค์การค้าโลก หากไม่มีการชี้แจงจากซาอุฯ ปฏิกิริยาตอบรับของรัฐบาลบราซิลได้รับการสนับสนุนจากสมาคมโปรตีนจากสัตว์ของบราซิล หรือเอบีพีเอ โดยสมาคมยืนยันถึงพันธสัญญาในการผลิตอาหารให้กับพลเมืองในราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย และเชื่อมั่นว่าบริษัทในบราซิลผลิตสินค้าส่งออกที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการ
การส่งออกเนื้อสัตว์ปีกให้ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย
เมื่อสามเดือนที่แล้ว ยอดการส่งออกเนื้อไก่ของบราซิลสูงขึ้น หากซาอุฯใช้นโยบายลดจำนวนโรงเชือดบราซิลในการนำเข้าแล้ว
ก็จะเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในประเทศแถบละตินอเมริกา
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา บราซิลส่งออกเนื้อสัตว์ปีกได้ ๔.๓๒๑ ล้านเมตริกตัน อ้างตามรายงานประจำปีล่าสุดจากเอพีบีเอ ในปริมาณนี้ เกือบร้อยละ ๔๐ ส่งออกให้กับเอเชีย และร้อยละ ๓๒ ส่งออกให้กับตะวันออกกลาง จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญที่สุดเป็นลำดับสองของไก่จากบราซิลในสองปีที่ผ่านมา ในปี พ.ศ.๒๕๖๒ และ ๒๕๖๓ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกราว ๔๖๘,๘๐๐ แฃะ ๔๖๗,๕๐๐ เมตริกตัน ตามลำดับ เมื่อปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๓ ของยอดการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรวมของบราซิล จึงถือว่า ซาอุณเป็นผู้นำเข้าเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดลำดับที่ ๕ ของโลก ในปีที่แล้ว ซาอุนำเข้ารวม ๕๕๐,๐๐๐ เมตริกตัน อ้างตามข่าวดังกล่าว การสั่งห้ามนำเข้าจากโรงเชือดบางแห่งในสัตว์ปีกนับเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายสำหรับบราซิล ราคาอาหารสัตว์กำลังพุ่งทะยานสูงขึ้น ขณะที่ การระบาดของโรคโควิด ๑๙ ส่งผลกระทบต่อความต้องการภายในประเทศที่ลดลงอีกด้วย
นโยบายซาอุฯ
ให้พึ่งพาการผลิตภายในประเทศ
ในบางช่วงเวลา
นานาประเทศในอาหรับพยายามลดการพึ่งพาการนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ
ตามข่าวจากรอยเตอร์ โดยกระตุ้นการผลิตภายในประเทศ เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
สื่อหนังสือพิมพ์อาหรับรายงานว่า ผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีก อัลมาไร
ได้ขยายกำลังการผลิตสัตว์ปีกอย่างมาก ยักษ์ใหญ่ในการผลิตอาหารของซาอุฯได้เพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเนื้อไก่เป็นสองเท่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
โดยลงทุนเพิ่มรวมแล้วราว ๕๖ ล้านบาท
การขยายกำลังการผลิตเล็งไปการกระจายตามภูมิภาคต่างๆในประเทศ เพื่อให้เป็นผลดีต่อระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ และกระจายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอีกด้วย เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ สำนักบริการด้านการเกษตรต่างประเทศ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้รายงานว่า ซาอุฯได้บรรลุเป้าหมายเบื้องต้นในการพึ่งพาเนื้อไก่ของตัวเองแล้วร้อยละ ๖๐ ผลผลิตในปีที่แล้วราว ๙๓๐,๐๐๐ เมตริกตัน และคาดว่าในปีนี้จะเป็น ๙๕๐,๐๐๐ เมตริกตัน ขณะเดียวกัน ซาอุฯก็นำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น ๖๒๕,๐๐๐ เมตริกตันจากเมื่อปีที่แล้ว ๕๕๐,๐๐๐ เมตริกตัน บางช่วงเวลา ยังมีความร่วมมือระหว่างกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และเกษตรกรรม และผู้ประกอบการผลิตสัตว์ปีกในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้า เป้าหมายใหม่ของประเทศคือ การพึ่งพาตัวเองร้อยละ ๘๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๘ นี้
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวคาดว่าอยู่เบื้องหลังการยกเลิกรับรองโรงเชือดในบราซิลที่ส่งออกให้กับซาอุฯ ในเดือนมกราคม บีอาร์เอฟ ได้ประกาศข่าวการซื้อกิจการอาหารของซาอุฯ ๑ โรงงานชื่อว่า จูดี้ อัล ชาร์คิยา บริษัทผู้ผลิตเนื้อ เช่น แฮมเบอร์เกอร์ และชิ้นส่วนไก่คลุกขนมปัง ในเวลานั้น บีอาร์เอฟ ยังสนใจลงทุนในโรงงานเพิ่มขึ้นอีก
เอกสารอ้างอิง
Linden J. 2021. Saudi Arabia imposes restrictions on Brazilian chicken imports. [Internet]. [Cited 2021 May 11]. Available from: https://www.wattagnet.com/articles/42821-saudi-arabia-imposes-restrictions-on-brazilian-chicken-imports
ภาพที่ ๑ ซาอุฯ
แบนนำเข้าไก่บราซิล (แหล่งภาพ BENGUHAN | Bigstock)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น