วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สัญญาณฟื้นตัวการค้าสัตว์ปีกโลก

 ภายหลังไตรมาสที่ท้าทายอย่างมาก อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกทั่วโลกกำลังฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ แม้ว่า การค้าสัตว์ปีกยังคงมีการแข่งขันกันอย่างมาก 

รายงานจากโรโบแบงค์ฉบับล่าสุด อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทาย เนื่องจาก โรคโควิด ๑๙ ทำลายตลาดค้าเนื้อสัตว์ปีก ราคาอาหารสัตว์ที่ทะยานสูง โรคไข้หวัดนกในทางซีกโลกตอนเหนือ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์โรค ASF

แต่โรโบแบงค์ เชื่อว่า หลายประเทศกำลังเปิดภาคบริการอาหาร เป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกฟื้นตัวได้อีกครั้ง คิดเป็นพื้นที่มากกว่าหนึ่งในสามของการบริโภคสัตว์ปีกโลก สัญญาณดังกล่าวจะช่วยให้การค้าสัตว์ปีกโลกมีระดับการสต๊อกที่ลดลง

ประเทศที่แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวทางการตลาดอย่างชัดเจน เช่น สหรัฐฯ เม็กซิโก และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม สินค้าล้นตลาดก็ยังเป็นปัญหาในหลายประเทศ เช่น สหภาพยุโรป แอฟริกาใต้ และไทย

ผู้ผลิตหลายใหญ่ในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ.๒๕๖๔ ภาคการผลิตเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างมาก โดยจับตามองการลดค่าใช้จ่ายจากการจ้างงาน ประสิทธิภาพการผลิต และสูตรอาหารสัตว์ รวมถึง การเตรียมรับมือกับความผันผวนด้านความต้องการที่กำหนดโดยการตัดสินใจของภาครัฐบาลต่อสถานการณ์โควิด ๑๙  

ราคาน้ำมันจากเมล็ดพืช และวัตถุดิบเพิ่มขึ้นต่อไปในช่วงไตรมาสที่ ๑ ของปีนี้ เนื่องจากอิทธิพลของลานีญ่า ในผู้ผลิตรายสำคัญหลายประเทศ และความต้องการนำเข้าเป็นเวลานานอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนจากประเทศจีน ความท้าทายสำคัญสำหรับผู้ผลิตคือ อาหารสัตว์เป็นต้นทุนร้อยละ ๖๐ ถึง ๗๐ ของการผลิต แต่โรโบแบงค์ เชื่อว่า ขณะที่ต้นทุนอาหารสัตว์ยังคงสูง แต่จะค่อยๆลดลงเล็กน้อย   

โรคอหิวาต์สุกรแอฟริกันจะส่งผลต่อผู้ผลิตสัตว์ปีก และการค้าเนื้อสัตว์โลก

โรคอหิวาต์สุกรแอฟริกันส่งผลต่อการผลิตเนื้อสุกร ผลกระทบของโรค ASF ต่อการผลิตสุกรยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจสัตว์ปีกอีกด้วย ทั้งจีน และเวียดนามเกิดการระบาดของโรค ASF อย่างรุนแรง กำลังฟื้นตัวโดยจีนคาดหวังว่าจะพลิกกลับมาผลิตเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๘ ถึง ๑๐ และเวียดนามร้อยละ ๘ ถึง ๑๒ เชื่อว่าจะส่งผลต่อผู้ผลิตสัตว์ปีกทั้งระดับประเทศ และโลก

  ประเทศจีนยังผลิตเนื้อสุกรได้น้อยกว่าที่คาดหวังไว้ในไตรมาสที่ ๑ ของปีนี้ และการผลิตของไก่ก็ลดลงเช่นกัน ทำให้ราคาเนื้อไก่เริ่มฟื้นตัวขึ้นในไตรมาสที่ ๑ แต่ยังเชื่อว่า การขยายตัวของการผลิตสุกร และไก่จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะส่งผลต่อราคาในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังจะส่งผลต่อปริมาณการนำเข้าในจีนด้วย

โรคไข้หวัดนกอาจกระทบต่อราคาสินค้าในบางประเทศ

              สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร รัสเซีย และเกาหลีใต้ ได้รับผลกระทบโดยโรคไข้หวัดนก ที่อาจเหนี่ยวนำให้เกิดการขาดแคลนเนื้อไก่ในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และรัสเซีย แต่ก็จะกดดันผู้ผลิตในสหภาพยุโรปให้ลดจำนวนไก่ลง ทำลายธุรกิจรายย่อยในประเทศเหล่านี้ จากมุมมองด้านการตลาดอาจสร้างแรงกดดันต่อราคาให้เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับผลกระทบต่อการผลิตภายในประเทศ โรคไข้หวัดนกได้ทำลายการค้าเนื้อสัตว์ปีก ลูกไก่ และไข่ไก่ในระดับโลกอีกด้วย เหตุการณ์เหล่านี้ ยังกดดันต่อผู้ส่งออกรายสำคัญจากยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร

              นอกจากนั้น ราคาผลิตอาหารที่ค่อนข้างสูง เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของตลาด ในรัสเซีย เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ขณะนี้ ภาครัฐเริ่มแทรกแทรกสถานการณ์ความกังวลต่อราคาสินค้าแล้ว 

อกสารอ้างอิง

McDougal T. 2021. Poultry market outlook recovers, national differences remain. [Internet]. [Cited 2021 Apr 14]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2021/4/Poultry-market-outlook-recovers-national-differences-remain-734320E/

ภาพที่ ๑ หลายประเทศเริ่มกลับมาเปิดภาคบริการอาหาร อุตสาหกรรมสัตว์ปีกจะเริ่มฟื้นตัว การบริโภคสัตว์ปีกโลกจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นหนึ่งในสามอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ (แหล่งภาพ Bert Jansen)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แมคโดนัลด์ทยอยเปิดร้านใหม่ในยูเครน

  นับตั้งแต่เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ เป็นต้นไป แมคโดนัลด์เริ่มเปลี่ยนไปใช้ไก่จากบริษัทเอ็มเอชพีสำหรับร้านจำหน่ายสินค้าในยูเครน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป...