วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562

อังกฤษอัพเกรดระเบียบสุขภาพ อาหาร และความปลอดภัย


นับตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคมเป็นต้นไป ธุรกิจในสหราชอาณาจักรต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยโรคสัตว์ และพืช รวมถึง ความปลอดภัยอาหาร
ไม่ว่าผลของการเลือกตั้งทั่วไปที่จะจัดขึ้นสัปดาห์นี้จะเป็นอย่างไร และผลของการตัดสินใจออกจากอียู หรือเบร็กซิตจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่ธุรกิจในสหราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏระเบียบล่าสุดว่าด้วยโรคสัตว์ และพืช โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคมนี้เป็นต้นไป ให้สอดคล้องกับเดฟรา (Defra, Department for the Environoment, Food and Rural Affairs)
สหราชอาณาจักรจะเริ่มปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วย "กฎสมาร์ทกว่า เพื่อความปลอดภัยอาหารที่ดีขึ้น (Smarter rules for safer food regulation, SRSF)" ที่เสนอไว้โดยคณะกรรมมาธิการยุโรปในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๘
ภายใต้กฎระเบียบดังกล่าว มาตรฐานด้านสุขภาพ และความปลอดภัยในห่วงโซ่อาหารจะถูกปรับให้ทันสมัย ง่าย และดีขึ้น โดยอาศัยการจัดการความเสี่ยง เพื่อคุ้มครองสัตว์ พืช และสุขภาพอนามัยของมนุษย์
อ้างตามเดฟรา
กฏระเบียบใหม่นี้จะเริ่มใช้ในสหราชอาณาจักร ขณะที่ ยังคงเป็นสมาชิกของอียู และช่วงเปลี่ยนผ่าน แม้ว่า สหราชอาณาจักรจะออกจากอียูโดยไม่มีข้อตกลงทางการค้า กฏระเบียบนี้จะยังคงยึดปฏิบัติภายใต้กฎหมายการถอนตัวจากอียู (Withdrawal Act)
ธุรกิจที่จะได้รับผลจากกฎระเบียบ SRSF
กฎระเบียบ SRSF จะส่งผลต่อการปฏิบัติงานในธุรกิจสำคัญ ๒ ส่วน
กฏระเบียบการควบคุมอย่างเป็นทางการ (Official Controls Regulation, OCR EU 2017/625) จะถูกบังคับใช้บริษัทที่ค้าขายเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (POAO) ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต และผู้จัดจำหน่ายพืช เมล็ดพันธุ์ และไม้ และผลิตภัณฑ์จากพืชจะถูกบังคับใช้โดยกฏระเบียบด้านสุขภาพพืชฉบับใหม่ (Plant Health Regulation, PHR EU 2016/2031)
เดฟรารายงานว่าได้ติดต่อกับผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว
ผลกระทบต่อธุรกิจ
 สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ จำเป็นต้องใช้ระบบไอทีที่ได้รับการรับรอง TRACES (NT) เพื่อบันทึกข้อมูลการนำเข้าจากนอกอียู รูปแบบการนำเข้าจะแตกต่างจากเดิม
ธุรกิจที่เกี่ยวกับพืช เมล็ดพันธุ์ และไม้ จำเป็นต้องใช้พาสปอร์ตพืชมากขึ้น นอกจากนั้น เนื้อหา และรูปแบบของพาสปอร์ตจะถูกปรับเปลี่ยนไป
หากไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบ SRSF regulations จะไม่สามารถนำเข้า หรือส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้
 อ้างอิงตามเดฟราแล้ว กฎระเบียบชุดที่ ๓ กฏระเบียบว่าด้วยสุขภาพสัตว์ (Aninal Health Regulation, EU 2016/429) จะเริ่มต้นในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อจัดโครงสร้างการทำงานใหม่สำหรับหลักสุขภาพสัตว์ของยุโรป
กฏระเบียบสำหรับผู้ผลิตอาหารสัตว์อียู   
การลดยาปฏิชีวนะ เลิกใช้ซิงค์ออกไซด์ เพิ่มสุขอนามัยอาหารสัตว์ การผสมยากันบิด และการปลดปล่อยแอมโมเนียจะเป็นประเด็นที่ถูกจับตามองในกฏระเบียบว่าด้วยสุขภาพสัตว์ดังกล่าว ที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตอาหารสัตว์อียู
ในปีนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ยุโรป (European Feed Manufacturers' Association, FEFAC) ตีพิมพ์แนวทางสำหรับสมาชิกในการพัฒนาแผนระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ
เอกสารอ้างอิง
ภาพที่ ๑ ธุรกิจในสหราชอาณาจักรต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฏระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปว่าด้วยโรคสัตว์ และพืช รวมถึง ความปลอดภัยอาหาร (แหล่งภาพ Photo by Andrea Gantz)


วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2562

แมคโดนัลด์ เปิดสงครามแซนวิชไก่


แมคโดนัลด์ เปิดจำหน่ายแซนวิชไก่กรอบ และแซนวิชไก่ดีลักซ์ แบบลิมิเต็ด เอ็ดดิชัน แค่สองแห่งในสหรัฐฯเท่านั้น
เชนบริการร้านอาหาร แมคโดนัลด์ เริ่มจำหน่ายแซนด์วิชไก่ทอดใหม่สองชนิด โดยประกาศทดลองขายสินค้าในเมือง Knoxville รัฐเทนเนสซี และเมืองฮูสตัน รัฐเท็กซัส
การตลาดแบบไวรัลช่วยให้แซนวิชไก่ทอดกลายเป็นวัฒนธรรมการบริโภคคนรุ่นใหม่ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ คู่แข่งผู้ให้บริการร้านอาหารจานด่วน ป๊อปอาย และชิก-ฟิล-เอ กำลังทำสงครามไก่ทอดเมนูพิเศษที่ถูกขนานนามว่า สงครามแซนด์วิชไก่ (Chicken sandwich wars) โดยทั้งสองรายหวังเพิ่มยอดขาย 
ลำดับความสำคัญสินค้า
แมคโดนัลด์ได้ซุ่มพัฒนาแซนด์วิชไก่ทอดชนิดใหม่หลายเดือนแล้ว เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริหารแฟรนไชส์ ให้นโยบายจัดลำดับความสำคัญสูงที่สุดกับสินค้าแซนด์วิชไก่ที่แมคโดนัลด์ต้องรีบเร่งขับดันเพื่อดึงลูกค้ากลับมามากขึ้น และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันโดยด่วน
การตัดสินใจของแมคโดนัลด์เข้าร่วมสงครามแซนด์วิชไก่ทอดมีโอกาสชนะได้สดใส โดยแซนด์วิชไก่ทอด (Crispy chicken sandwich) เป็นไก่ทอดที่ราดด้วยเนย และแตงกวาดอง ขณะที่ แซนด์วิชไก่ดีลักซ์ (Deluxe chicken sandwich) ประกอบด้วย มะเขือเทศ ผักกาด แซนด์วิชทั้งสองเมนูจะเสิร์ฟกับมันฝรั่ง การตั้งราคาเมนูไว้ที่ ๑๐๕.๗๕ บาท และ ๑๒๔ บาท
สันในไก่ที่ใช้สำหรับแซนด์วิชทั้งสองชนิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของแมคโดนัลด์ แตกต่างจากแซนด์วิชใหม่จากแมคชิคเก้น และแซนด์วิชไก่กรอบราดบัตเตอร์มิลค์ (buttermilk crispy chicken sandwiches) ที่จำหน่ายทั่วไปในร้านแมคโดนัลด์
การวางจำหน่ายแซนด์วิชใหม่ทั้งสองเมนูได้ทดลองวางตลาดแล้วตั้งแต่วันที่ ๒ ธันวาคมที่ผ่านมา จนถึง ๒๖ มกราคมปีหน้า
เมือง น็อกซ์วิลล์ และเมืองฮูสตัน กำลังถูกจับตามอง ทุกคนยังจับตามองว่ายังจะมีอะไรใหม่อีกในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้
การเปิดตัวแซนด์วิชใหม่ของแมคโดนัลด์เป็นความพยายามครั้งที่สองที่จะเข้าสู่ตลาดแซนด์วิชไก่ทอด ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แมคโดนัลด์เคยทดลองแซนด์วิชไก่อัลติเมต (Ultimate chicken sandwich) จำหน่ายในร้าน ๑๖๐ แห่งทั่วรัฐวอชิงตัน แมคโดนัลด์เป็นเชนอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในสหรัฐฯ โดยมียอดจำขายมากกว่า ๑.๑ ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ 

เอกสารอ้างอิง

ภาพที่ ๑ แซนด์วิชไก่อัลติเมต (Ultimate chicken sandwich) จำหน่ายในร้าน ๑๖๐ แห่งทั่วรัฐวอชิงตัน แมคโดนัลด์ (แหล่งภาพ: แมคโดนัลด์) 










วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562

อียูหยุดเนื้อไก่เลี่ยงภาษีจากยูเครน


สภายุโรปกำหนดมาตรการเข้มหยุดคลื่นเนื้อไก่ราคาถูกที่ไหลทะลักจากยูเครนเข้าสู่ตลาดยุโรปผ่านช่องว่างทางกฎหมายแล้ว 
ยูเครนได้รับอนุญาตให้ส่งออกสันในอกไก่มากกว่า ๕๐,๐๐๐ ตัน โดยได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีเข้าสู่สหภาพยุโรป เนื้อสันในอกไก่ที่ติดชิ้นส่วนของกระดูก และผิวหนัง เคยถูกใช้เป็นช่องว่างทางกฎหมายเพื่อสวมโควตานี้ได้โดยไม่จำกัดปริมาณ และไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่จากนี้ไปจะไม่สามารถนำเข้าสู่สหภาพยูโรปได้อีกต่อไป
ช่องว่างทางกฏหมาย
สภายุโรปได้นำเสนอมาตรการเพื่อหยุดคลื่นเนื้อไก่ราคาถูกจากยูเครนที่ทะลักเข้าสู่ตลาดยุโรปผ่านช่องว่างทางกฎหมาย ยูเครนเลี่ยงภาษีโดยการส่งออกชิ้นส่วนอกไก่ตัดแต่งพิเศษให้ติดกระดูก
การตัดชิ้นส่วนสันในไก่ด้วยวิธีพิเศษให้ติดปีก และผิวหนังไว้ ทำให้ยูเครนสามารถใช้ช่องว่างทางกฏหมายในการส่งสันในไก่เข้าสู่สหภาพยุโรปเป็นกิโลกรัมเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ๒๐,๐๐๐ ตันตามข้อตกลงในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ สันในไก่ที่ติดปีกสามารถนำเข้าสู่สหภาพยุโรปได้โดยไม่มีข้อจำกัด ภายหลัง เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิกหนึ่งในสหภาพยุโรปส่งสัญญาณเตือนให้กับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้วก็จะอยู่ในชั้นของการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลเคียฟเพื่อปรับข้อตกลงดังกล่าว จากนี้เป็นต้นไป เมื่อปริมาณสันในไก่จากยูเครนที่ได้รับโควต้ายกเว้นภาษีชนเพดานเมื่อไร ยูเครนก็จะต้องจ่ายภาษีสำหรับการส่งออกสินค้าส่วนที่เกินจากโควตาขึ้นไป
ล่าสุดยุโรปโวตให้หยุดไก่เลี่ยงภาษีไก่ยูเครน
สภายุโรปลงคะแนนเสียงเห็นชอบกับมาตรการหยุดการอาศัยช่องว่างทางกฏหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกยูเครนฉวยโอกาสส่งออกเนื้ออกเข้าสู่สหภาพยุโรปโดยไม่จำกัดปริมาณ โดย ๔๔๔ เสียงลงคะแนนเห็นชอบ และ ๑๒๘ เสียงคัดค้าน และไม่แสดงความเห็น ๗๔ เสียง
ภายหลังเนื้อสัตว์ปีกจากยูเครนส่งออกทะยายสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ๑๕ เท่าตัวภายในระยะเวลาเพียงสามปีระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึง ๒๕๖๑ เป็น ๕๕,๐๐๐ เมตริกตัน
การแก้ไขกฏหมายนี้เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตในสหภาพยุโรปจากการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกโดยไม่จำกัดปริมาณ ในอนาคต ยูเครนควรให้ความเคารพ และมีความจริงใจต่อความสัมพันธ์ร่วมกันกับสหภาพยุโรป ขณะที่ สหภาพยุโรปก็พยายามปิดช่องโหว่ทางกฎหมายทุกวิถีทาง ความจริงแล้ว ผู้ประกอบการยูเครนควรยึดถือปฏิบัติตามข้อตกลงทางการค้าอย่างครบถ้วน รวมถึง กฏระเบียบว่าด้วยสุขอนามัยอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
Brockotter F. 2019. Ukrainian export loophole closed. [Internet]. [Cited 2019 Nov 27]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/11/Ukrainian-export-loophole-closed-505665E
Davies J. 2019. Europe votes to close poultry loophole. [Internet]. [Cited 2019 Nov 29]. Available from:
ภาพที่ ๑ สภายุโรปกำหนดมาตรการเข้มหยุดคลื่นเนื้อไก่ราคาถูกที่ไหลทะลักจากยูเครนเข้าสู่ตลาดยุโรป (แหล่งภาพ Fabian Brockotter)


Gen Z เลือกอาหารจากนวัตกรรมใหม่


กลุ่มผู้ซื้อใหม่ที่มีอิทธิพลในตลาดจะส่งผลต่ออนาคตของอาหารทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย
สมาชิกของคนรุ่นใหม่เจนแซดที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ กำลังกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่ส่งผลต่อเทคโนโลยีการผลิตอาหารในอนาคตมากกว่าคนรุ่นเก่า เช่น เนื้อทางเลือกใหม่ที่กำลังโด่งดัง
คนรุ่นเก่าที่สุดในเจนแซดสำเร็จการศึกษาในมหาวิทยาลัย และเริ่มต้นทำงานแล้ว หมายความว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคกลุ่มนี้กำลังมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนตลาดเนื้อสัตว์อย่างมาก
คนเจนแซดมากกว่าร้อยละ ๗๕ พยายามแสวงหาอาหารที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ และร้อยละ ๗๑ ยอมรับอาหารที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิต
เปรียบเทียบกับคนยุคมิลลิเนียมที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เพียงร้อยละ ๖๗ ที่เปิดใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่สำหรับอาหาร และมีเพียงร้อยละ ๕๖ เท่านั้นที่ยอมรับอาหารทางเลือกใหม่
สำหรับคนรุ่นเจนเอ็กซ์ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๒ และเบบี้บูเมอร์ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง ๒๕๐๗ ไม่ค่อยยอมรับเทคโนโลยีการผลิตอาหารใหม่ๆ ร้อยละ ๕๑ และ ๕๘ ตามลำดับ
ตารางที่ ๑ สรุปผลการสำรวจพฤติกรรมการยอมรับสินค้าอาหารนวัตกรรมใหม่ของคนรุ่นต่างๆ โดยคนทั้งสองรุ่นให้ความสนใจแสวงหาอาหารที่มีที่มาจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยละ ๖๗ และ ๕๘ ตามลำดับ
คนรุ่น
ช่วงเวลาที่เกิด
สัดส่วนการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตอาหารใหม่
เบบีบูม
พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง ๒๕๐๗
ร้อยละ ๕๘
เจนเอ็กซ์
พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึง ๒๕๒๒
ร้อยละ ๕๑
เจนวาย หรือยุคมิลลิเนียม
พ.ศ. ๒๔๒๓ ถึง ๒๕๓๗
ร้อยละ ๕๖
เจนแซด
พ.ศ. ๒๕๓๘ ขึ้นไป
ร้อยละ ๗๑

เนื้อสัตว์ทางเลือกใหม่
เนื้ออัลเตอร์เนทีฟ หรือเนื้อเทียมที่กำลังได้รับความสนใจมากจากคนรุ่นใหม่เป็นเนื้อสัตว์ที่เตรียมมาจากพืช นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ยอดจำหน่ายเนื้อสัตว์ทางเลือกใหม่อาจเพิ่มสูงถึง ๔.๒ ล้านล้านบาทภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๓ หรืออีกยี่สิบปีข้างหน้า
การลงทุนของบริษัทผู้ผลิตเนื้อสัตว์ทางเลือกใหม่โดยใช้พืชกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และสูงทำลายสถิติในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้เอง การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเป็นเนื้อทางเลือกใหม่จากพืชกลายเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการเป็นส่วนใหญ่ ตามกระแสความนิยมลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และเพิ่มการบริโภคอาหารที่มาจากพืช

อีแวนเจลลิสด้านอาหาร
คนรุ่นใหม่เจนแซด และยุคมิลลิเนียมทั้งหลาย ชื่นชมอีแวนเจลลิสด้านอาหาร (Food eVangelists) เป็นกลุ่มผู้ทรงอิทธิพลในการสร้างกระแสทางเลือกอาหารทั้งอาหารทางเลือกใหม่ การบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย
อีแวนเจลลิสด้านอาหารเป็นผู้ทรงอิทธิพล ไม่เพียงต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า แต่ยังมีอิทธิพลต่อความคิดของคนรุ่นใหม่อีกด้วย ผู้ประกอบการบางรายได้ใช้เทคโนโลยีด้านวิธีไบโอเมทริก เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น อัตราการเต้นหัวใจ การแสดงออกของสีหน้า และการเปลี่ยนแปลงของใบหน้า ควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสำรวจการศึกษาข้อมูลอีกด้วย  

เอกสารอ้างอิง

ภาพที่ ๑ กลุ่มผู้ซื้อใหม่ที่มีอิทธิพลในตลาดจะส่งผลต่ออนาคตของอาหารทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการจำหน่าย (แหล่งภาพ Martinan | iStockPhoto.com)


วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การนำเข้า และตลาดภายในแอฟริกาใต้


การนำเข้าเนื้อไก่จากแอฟริกาใต้ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ ตลาดภายในประเทศได้รับผลกระทบจากราคาต้นทุนอาหารสัตว์สูง ขณะเดียวกัน รัฐบาลแอฟริกาใต้ยังคงประเมินข้อเรียกร้องของสมาคมสัตว์ปีกในแอฟริกาใต้ให้ตั้งกำแพงภาษีจากร้อยละ ๑๒ ถึง ๓๗ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๘๒

ภายหลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ผสมกับการระบาดของโรคไข้หวัดนก สับไทป์ เอช ๕ เอ็น ๘ และความวิตกกังวลต่อปัญหาโรคอาหารเป็นพิษจากลิสเทอริโอซิส อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกของประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เพิ่มการผลิตขึ้นร้อยละ ๖ จนมีไก่เนื้อเข้าเชือด ๙๘๓ ล้านตัวต่อปี ตามรายงานของ USDA-GAIN

ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศ

อุตสาหกรรมไก่เนื้อเป็นภาคเกษตรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงราว ๙ หมื่นล้านบาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมดราวร้อยละ ๑๗ ของผลิตภัณฑ์การเกษตรกรรม การผลิตไก่เนื้อเชิงพาณิชย์มีสัดส่วนร้อยละ ๙๐ของอุตสาหกรรมเนื้อไก่ ที่เหลืออีกร้อยละ ๑๐ เป็นการเลี้ยงของชาวบ้าน จากจำนวนไก่ ๙๘๓ ล้านตัว ผลิตเป็นเนื้อไก่ได้ราว ๑.๒๗ ล้านตัน ไม่รวมเครื่องใน หากรวมการเลี้ยงไก่ของชาวบ้านไปด้วยก็จะมีปริมาณราว ๑.๔๑ ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สำหรับปีนี้ การผลิตเนื้อไก่ลดลงราวร้อยละ ๑ เหลือ ๑.๔๐ ล้านตัน  

ต้นทุนอาหารสัตว์ร้อยละ ๗๐ ของการผลิตไก่เนื้อ จำกัดความต้องการผู้บริโภค และการส่งออกที่ลดลงสร้างแรงกดดันต่อราคาของผู้ผลิตเนื้อไก่ ส่งผลให้ผู้ผลิตไก่เนื้อเชื่อว่าจะลดการผลิตลงเหลือ ๙๗๐ ล้านตัวในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ และในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การผลิตเนื้อไก่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒ เป็น ๑.๔๒ ล้านตัน ภายใต้สมมติฐานว่าสภาวะอากาศเป็นปรกติ 

การบริโภคเนื้อไก่ในแอฟริกาใต้

แอฟริกาใต้บริโภคเนื้อสัตว์ราว ๓.๙ ล้านตันต่อปีจากเนื้อสัตว์ปีก เนื้อโค เนื้อแกะ และเนื้อสุกร ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แอฟริกาใต้นำเข้าเนื้อสัตว์ราว ๔.๕ แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓๕ ของรายจ่ายอาหารทั้งหมด เนื้อสัตว์ปีกมีสัดส่วนร้อยละ ๖๐ ของเนื้อสัตว์ทั้งหมด การบริโภคเนื้อไก่ ไม่รวมเครื่องใน มีปริมาณราว ๑.๘๘ ล้านตัน

ความต้องการเนื้อไก่ ไม่รวมเครื่องใน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๑ ในปีนี้เป็น ๑.๙ ล้านตัน และคาดว่า ความต้องการจะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็น ๑.๙๓ ล้านตัน 

ตลาดเนื้อไก่แอฟริกาใต้

คุณลักษณะสำคัญของตลาดเนื้อไก่ในแอฟริกาใต้ ๓ ประการ ที่มาจากฐานผู้บริโภครายได้น้อย ได้แก่

๑. ความต้องการชิ้นส่วนเนื้อไก่ติดกระดูก (เนื้อสีน้ำตาล) มากกว่าเนื้ออก โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๖๐ ของความต้องการเนื้อไก่ทั้งหมด ส่วนใหญ่จำหน่ายเป็นชิ้นส่วนแช่แข็งแบบรวดเร็วบรรจุเป็น ๒ กิโลกรัม และ ๕ กิโลกรัม ในราคาถูก

๒. เนื้อไก่แช่แข็งที่ผลิตในท้องถิ่นทั้งหมด ประกอบด้วย น้ำเกลือ เพื่อถนอมอาหาร และคุณภาพของเนื้อไก่ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ได้นำกฏระเบียบควบคุมปริมาณน้ำเกลือระดับสูงที่สุดไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของน้ำหนักจำหน่าย ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นั้น ระดับของน้ำเกลือเคยสูงถึงร้อยละ ๔๓ 

๓. ความต้องการเนื้อสดค่อนข้างน้อย ไม่ถึงร้อยละ ๑๐ ของเนื้อไก่ในประเทศ

การนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกเพิ่มขึ้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แอฟริกาใต้นำเข้าเนื้อไก่เกือบ ๕๒๐,๐๐๐ ตัน เพื่อชดเชยการผลิตภายในประเทศ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๒ จากปี พ.ศ. ๒๕๖๐ คาดว่าจะสูงขึ้นร้อยละ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้เป็น ๕๔๕,๐๐๐ ตัน เนื่องจาก การผลิตในประเทศลดลงจากราคาต้นทุนอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น และในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ก็จะยิ่งสูงขึ้นอีกเล็กน้อยเป็น ๕๕๕,๐๐๐ ตัน เนื่องจาก คาดว่า กำลังการผลิตภายในประเทศเริ่มกลับมา เนื้อไก่ในกระดูกแช่แข็ง และเนื้อไก่ถอดกระดูกเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญ

บราซิลเป็นผู้จำหน่ายเนื้อไก่รายใหญ่ให้กับแอฟริกาใต้โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่าร้อยละ ๖๐ ของตลาดนำเข้าเนื้อไก่ทั้งหมด ติดตามด้วยสหรัฐฯ มีสัดส่วนร้อยละ ๑๖ และอียู ร้อยละ ๑๒

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการด้านการค้าระหว่างประเทศแห่งแอฟริกาใต้ (International Trade Administration Commission of South Africa, ITAC) ประกาศรับข้อเสนอของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกภายในประเทศให้เพิ่มภาษีศุลากากรการนำเข้าเนื้อไก่แช่แข็ง โดยข้อเสนอนี้ได้เรียกร้องให้เพิ่มภาษีนำเข้าเนื้อไก่ไม่มีกระดูก และเนื้อไก่ติดกระดูกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากร้อยละ ๑๒ และ ๓๒ ตามลำดับเป็นร้อยละ ๘๒ โดยเป็นไปตามข้อตกลงทางการค้าขององค์การค้าโลก (WTO) ประเด็นนี้ได้รับความสนใจจากทั้งสื่อมวลชน และรัฐบาล อย่างไรก็ตามยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา

ประเด็นด้านตลาดส่งออกเนื้อไก่

ตลาดสำคัญสำหรับการส่งออกเนื้อไก่จากแอฟริกาใต้เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูงในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ หลายประเทศ รวมถึง บอสวานา มาลาวี โมเซมบิก นามิเบีย แซมเบีย และซิมบับเว ห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากแอฟริกาใต้

ผลจากการถูกห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากประเทศดังกล่าว ทำให้การส่งออกเนื้อไก่จากแอฟริกาใต้ตกลงมากกว่าร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เหลือเพียง ๕๑,๐๐๐ ตันเท่านั้น แอฟริกาใต้ยังคงติดกับดักปัญหาไม่สามารถกลับมาเปิดตลาดใหม่ได้ส่งผลให้ยอดการส่งออกยังคงต่ำลงต่อเนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เหลือเพียง ๔๕,๐๐๐ ตันเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

Berkhout N. 2019. Case study: Imports dominate South African poultry market. [Internet]. [Cited 2019 Oct 28]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/10/Case-study-Imports-dominate-South-African-poultry-market-491074E/

ภาพที่ ๑ การนำเข้า และตลาดภายในแอฟริกาใต้ (แหล่งภาพ: Vladislav Vorotnikov)

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ยูเครน ลดยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์


บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพในยูเครน Epikur โพสต์ร้องทุกข์ในเวบไซต์ว่า รัฐสภาต้องการให้จำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ภายในประเทศยูเครน หากมีผู้ลงนามมากกว่า ๒๕,๐๐๐ ลายชื่อในวันที่ ๕ ธันวาคมนี้ ข้อเรียกร้องนี้ก็จะเข้าสู่รัฐสภา เพื่อพิจารณาออกร่างกฏหมายมุ่งลดยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ทันที
ผู้เขียนคำร้องยกประเด็นเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ และซูเปอร์บั๊ก อ้างว่า ไม่มีข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมอาหารทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ถูกควบคุม และยังคงไม่ชัดเจน ผู้ประกอบการ Epikur ใช้เวลา ๒ ปีพัฒนาวิธีการเลี้ยงไก่เนื้อโดยใช้อาหารสัตว์ที่ไม่มียาปฏิชีวนะจนประสบความสำเร็จในการเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืนจากการผลิตเนื้อสัตว์ปีกที่ไม่มีผสมยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ สิ่งท้าทายนี้เกิดขึ้นได้ แม้ว่าจะต้องปฏิบัติตามแผนอย่างเข้มงวด บริษัทยึดมั่นคำมั่นสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบวินัยที่บุคลากรในฟาร์มต้องยึดปฏิบัติ โครงการ Epikur ช่วยให้เนื้อสัตว์ปีกในตลาดยูเครนร้อยละ ๒ มาจากฟาร์มสัตว์ปีกที่ใช้อาหารสัตว์ไม่ผสมยาปฏิชีวนะ
เทรนด์หลัก และมาตรฐาน 
เทคโนโลยีที่นำมาใช้ที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก Vladimir Volyn ในยูเครนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับการสนับสนุนจนช่วยให้เนื้อสัตว์ปีกร้อยละ ๒ ในตลาดยูเครนถูกผลิตในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกที่ใช้อาหารสัตว์ไม่ผสมยาปฏิชีวนะ ช่วยให้มองเห็นทิศทางของเทรนด์หลัก และมาตรฐานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในยูเครนที่กำลังขับเคลื่อนไปข้างหน้า ถึงเวลานี้ ผู้ประกอบการเกิดความเชื่อมั่นว่าได้บรรลุเป้าหมายที่เคยตั้งไว้เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว  ผลผลิตของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกที่ใช้อาหารสัตว์ไม่ผสมยาปฏิชีวนะลดลงกว่าอาหารสัตว์ตามปรกติเพียงเล็กน้อย
ไม่มีประเด็นการเมือง
ไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ยูเครนยังเชื่อว่า เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพไม่ได้เป็นวาระหลักของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในยูเครนเหมือนกับสหภาพยุโรป หรือสหรัฐฯ ผู้บริโภคเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในยูเครนที่สนใจปัญหาซูเปอร์บั๊ก ดังนั้น ความต้องการเนื้อสัตว์ปีกที่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะยังเป็นส่วนน้อยของตลาด Epikur ตัดสินใจริเริ่มยื่นคำร้อง เนื่องจาก ภาครัฐปฏิเสธที่จะพิจารณาคำร้องก่อนหน้านี้ในการแก้ไขกฏหมายระดับชาติว่าด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ที่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ข้อเรียกร้องไม่ได้ถูกปฏิเสธแต่แรก แต่เจ้าพนักงานรัฐเพียงไม่สนใจต่อข้อเรียกร้องนี้ เนื่องจากเชื่อว่า ไม่มีใครสนใจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว การยื่นข้อเรียกร้องขึ้นใหม่เป็นขั้นตอนต่อไป เพื่อทดสอบรัฐบาลใหม่ของยูเครน
เอกสารอ้างอิง
Vorotnikov V. 2019. Ukraine: Campaign to limit the use of in-feed antibiotics. [Internet]. [Cited 2019 Nov 11]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2019/11/Ukraine-Campaign-to-limit-the-use-of-in-feed-antibiotics-497057E/


ภาพที่ ๑ Epikur วางแผนให้เนื้อสัตว์ปีกร้อยละ ๒ ในตลาดยูเครนผลิตโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ (แหล่งภาพ Tim Scrivener) 

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อาหารเพื่อศตวรรษที่ ๒๑: ความท้าทายของผู้นำด้านการผลิตอาหาร


ผู้นำด้านการผลิตอาหารในอนาคตต้องมองเห็นภาพของธุรกิจแบบองค์รวมเป็นชนิด และสิ่งท้าทายที่ต้องเผชิญหน้า เพื่อกำหนดทิศทางปรับตัวการผลิตอาหารให้มีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยอาหาร และการผลิตอย่างยั่งยืน เข้าใจความซับซ้อนของสังคมที่มีจำนวนประชากรโลกเติบโตเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ๗.๗ พันล้านคนทยานขึ้นเป็นหมื่นล้านคนในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ นี้ ขณะที่ การผลิตอาหารยังคงต้องเพิ่มขึ้น สร้างเป็นเครือข่ายการกระจายสินค้าไปให้ตลอดได้ทั่วโลก 

อุปสรรคในการผลิตอาหารที่สำคัญสำหรับอนาคตจากห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยมินเนโซตาว่าด้วยระบบการผลิตอาหารเชิงบูรณากรได้ข้อสรุปบางประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่

๑. สิ่งแวดล้อม ถึงปัจจุบันทรัพยากรโลกกำลังร่อยหรอลงทุกที การผลิตอาหารให้กับพลเมืองโลกให้เพียงพออย่างยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่สุดสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต ขณะเดียวกัน ประเทศผู้ผลิตอาหารรายสำคัญของโลก และพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกกำลังหายไปทุกปีจากการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การเสื่อมคุณภาพของดิน การขยายตัวของเมือง และความแห้งแล้ง ในสหรัฐฯแห่งเดียว พื้นที่การเกษตรกรรมกว่า ๗๘ ล้านไร่หายไปในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาตามรายงานข้อมูลจาก American Farmland Trust   

๒. ความปลอดภัยอาหาร เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ระบบการจัดการความปลอดภัยอาหารโลกยังเป็นเพียงระบบเอกสาร และปฏิบัติการเชิงรับ อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ กำลังขับเคลื่อนกฏหมายใหม่ที่ทำให้ระบบการจัดการความปลอดภัยอาหารมีความทันสมัยมากกว่าเดิม เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการปฏิบัติงานสอดคล้องกับข้อกำหนด จึงได้อำนวยความสะดวกโดยใช้ระบบดิจิตอล และนำเครื่องมือช่วยป้องกันปัญหาด้านความปลอดภัยอาหารก่อนที่จะเกิดขึ้นโดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้แก่ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Internet of Things) บล็อกเชน และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ระบบดิจิตอลมากขึ้นก็มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยแบบไซเบอร์สูงขึ้นเช่นกัน

๓. การจัดการแรงงาน การบังคับควบคุมกฏหมายด้านแรงงานชาวต่างด้าวอย่างเข้มงวดในสถานประกอบการอาหารสหรัฐฯ กลายเป็นสิ่งท้าทาย และสั่นคลอนอุตสาหกรรมการผลิตอาหารอย่างมาก ระบบการผลิตอาหารปัจจุบันนิยมใช้แรงงานต่างด้าว ตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์จนถึงฟาร์ม เพื่อแปรรูปเป็นอาหารบรรจุเสร็จในโรงงาน อย่างไรก็ตาม คนงานในห่วงโซ่การผลิตอาหารทั่วโลกมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ และความเจ็บป่วยจากการทำงาน ผู้ประกอบการถูกกระตุ้นให้เพิ่มความเอาใจใส่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นไม่ใช่เพียงความปลอดภัยต่อพนักงาน แต่ยังรวมถึงความปลอดภัยต่อตัวพนักงานของผู้จัดจำหน่าย และลูกค้าอีกด้วย

๔. ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคในวันนี้ต้องการสินค้าที่แตกต่างจากผู้บริโภครุ่นก่อนอย่างมาก เพื่อให้ยังคงยืนหยัดอยู่ในตลาด และดำรงความสามารถแข่งขันไว้ได้ ผู้ประกอบการอาหารต้องนำรสชาติ และชนิดของผลิตภัณฑ์แปลกใหม่เพิ่มขึ้น ความพยายามวิจัยอาหารใหม่จะช่วยต่อลมหายใจของผู้ประกอบการ และการเสาะหาแหล่งวัตถุปรุงอาหาร ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการเมืองอาจสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้กดดันให้ผู้ประกอบการต้องสามารถปรับตัวดีขึ้นกว่าเดิม

เนื่องจาก เรากำลังเผชิญหน้ากับการเพิ่มประชากรโลก แต่พื้นที่การเกษตรกรรมสำหรับผลิตอาหารกลับน้อยลง การผลิตอาหารให้เพียงพอต่อประชากรโลกในอนาคตจำเป็นต้องใช้ทุกนวัตกรรมที่มีอยู่ในมือ และต้องแสวงหาใหม่เพิ่มขึ้นอีก การผลิตสินค้าเกษตรกรรม และอาหารต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม โดยให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด เกิดของเสียน้องลง จึงจะเพียงพอตอบสนองต่อจำนวนประชากรโลกในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ 

การลงทุนด้านการจัดการเพาะปลูก วิถีใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปอาหาร และการเพิ่มศักยภาพการจัดส่ง และกระจายสินค้าจำเป็นต้องเตรียมการให้พร้อม มิฉะนั้น ความมั่นคงทางอาหารจะเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวงไปทั่วโลก ราคาต้นทุนอาหารจะเพิ่มสูงขึ้นจนกลายเป็นวิกฤติใหม่

ขณะที่ การจัดจำหน่ายสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นทั่วโลก ประเด็นด้านแรงงานก็จะเป็นต้องให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ การใช้แรงงานด้วยจริยธรรมตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร โดยเฉพาะ ประเทศกำลังพัฒนา ต้องสร้างความเชื่อมั่น และตรวจสอบได้ นอกจากนั้น แรงงานทั่วโลกต้องทำงานอย่างปลอดภัยขณะผลิตอาหาร โดยสร้างความเชื่อมั่นว่า พนักงานเหล่านั้นจะต้องผ่านการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะ การปฏิบัติงานกับเครื่องจักรที่เป็นอันตราย หรือปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย เพื่อลดอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน

ความท้าทายของผู้ผลิตอาหารแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ใหญ่หลวง และสลับซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ และความเข้าใจของผู้นำรุ่นใหม่ที่มองรอบด้านตั้งแต่ฟาร์มไปจนถึงส้อมผู้บริโภค โดยต้องคิดอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงทุกขั้นตอนของการผลิตอาหาร เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ การมุ่งเน้นเพียงจิ๊กซอว์แค่ชิ้นเดียวไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาที่เรากำลังเผชิญหน้าในอนาคตอันใกล้นี้ แต่ต้องพิจารณาไตร่ตรองไปทุกส่วน รวมถึง ความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละส่วนจนค้นพบโอกาสของอนาคตได้
เอกสารอ้างอิง
Van de Light J. 2019. Food in the 21st Century: Challenges in the Food System.  [Internet]. [Cited 2019 Oct 1]. Available from: https://www.foodsafetymagazine.com/enewsletter/food-in-the-21st-century-challenges-in-the-food-system/


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สุดยอดผู้ผลิตไก่เนื้อเอเชียที่ต้องจับตามอง

บริษัทสุดยอดด้านสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ขณะที่ ผู้ผลิตไก่รายใหญ่ที่สุดเหล่านี้เตรียมรองรับความต้องการที่กำลังเติบโต ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ นี้ ห้าในสิบห้าบริษัทชั้นนำของโลกจะอยู่ในเอเชีย สะท้อนให้เห็นถึงภาพบวกสำหรับผู้ประกอบการสัตว์ปีกโลกในภูมิภาคเอเชีย
อัตราการเติบโตอาจต่ำกว่าในอดีต แต่โดยทั่วไปก็ถือว่าเหนือกว่ายุโรป และอเมริกา กลายเป็นโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ในเอเชียสอดคล้องกับรายได้ และมาตรฐานการครองชีพที่ยกระดับสูงขึ้น ความต้องการบริโภคเนื้อไก่ต่อหัว และการผลิตสัตว์ปีกโดยภาพรวมจะเพิ่มสูงขึ้น
ผลประกอบการของบริษัทผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในห้าบริษัทเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องสะท้อนภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จัดลำดับตามขนาดตามรายงานคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่จัดทำโดย USDA แต่การเติบโตจะช่วยกระตุ้นการผลิต
ภาพที่ ๑ สุดยอดบริษัทชั้นนำผู้ผลิตไก่เนื้อในปี ค.ศ. ๒๐๓๐
















ประเทศจีน
จีนจะมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ โดยในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ จะผลิตเนื้อไก่พร้อมปรุงได้ ๑๕.๙ ล้านตัน สูงขึ้นจากปี ค.ศ. ๒๐๑๖ ราว ๑๓.๑๑ ล้านเมตริกตัน การบริโภคเนื้อไก่ในประเทศตามข้อมูลจาก OECD จะเติบโตราว ๑๑.๗๒ กิโลกรัมเป็น ๑๓.๒๕ กิโลกรัมภายในกลางทศวรรษหน้า โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่
๑. นิวโฮ้ปกรุ๊ป (New Hope Group) ไม่เพียงเป็นผู้ผลิตเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ครอบคลุมทั้งพันธุ์ การเพาะปลูก และเทคโนโลยีด้านการเกษตกรรม รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยว และกำลังขยายธุรกิจออกจากจีนไปยังแอฟริกา และยุโรป ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เริ่มต้นลงทุนต่างประเทศครั้งแรกในเวียดนามสำหรับภาคสัตว์ปีก นิวโฮ้ป ลิ่วเหอ เปิดเผยว่าเป้าหมายคือการแปรูปเนื้อไก่มากกว่า ๒ พันล้านตัวต่อปี
นิวโฮ้ปกรุ๊ปก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๘๒ โดย Mr. Yonghao Liu ปัจจุบันเป็นผู้ประกอบการเอกชนชาวจีน โดยเป็นบริษัทเอกชนนำร่องที่เติบโตควบคู่ไปกับการปฏิรูปประเทศจีน และเปิดประตูเศรษฐกิจใหม่ ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา นิวโฮ้ปกรุ๊ปยังติดลำดับเป็นผู้ประกอบการชั้นนำ ๕๐๐ ลำดับแรกต่อเนื่องกัน ๑๖ ปี ส่งผลต่อทั้งคุณค่าด้านสังคม และเศรษฐกิจ นิวโฮ้ปกรุ๊ปมีสาขากว่า ๖๐๐ แห่งใน ๓๐ ประเทศ พนักงานเกือบ ๗๐,๐๐๐ คน มีทรัพย์สินรวม ๘.๕ แสนล้านบาท และรายได้ประจำปีมากกว่า ๕.๕ แสนล้านบาทต่อปี ได้รับการจัดลำดับโดยผู้จัดลำดับเครดิตระหว่างประเทศเฉิงซิน (CCXI) ไว้เป็นทริปเปิลเอ 


๒. เวน ฟู้ด กรุ๊ป (Wen's Food Group) เป็นผู้ผลิตสัตว์ปีก และสุกรรายใหญ่ที่สุดเป็นลำดับสองในจีน ประกอบด้วย ๑๗๐ บริษัทย่อย ครอบคลุมฟาร์มเกษตรกร ๓๕,๐๐๐ ครัวเรือนในประเทศ นอกเหนือจากสัตว์ปีก ไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ลงทุนเพิ่มเติมในการผลิตสุกรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ประเทศอินเดีย
อินเดียคาดว่าจะไต่ขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ลำดับ ๓ ขอโลก การผลิตไก่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก ๔.๒ ล้านเมตริกตันเป็น ๗.๑๑ ล้านเมตริกตันในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ การบริโภคเนื้อไก่ในประเทศเพิ่มขึ้นจาก ๑.๗๔ กิโลกรัมเป็น ๒.๐๖ กิโลกรัมภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ นี้
๑. สุกุณา ฟู้ดส์ (Suguna Foods) เป็นผู้ผลิตสัตว์ปีกชั้นนำของอินเดีย โดยมีเกษตกรฟาร์มไก่ประกันมากกว่า ๒๓,๐๐๐ ฟาร์ม เพื่อผลิตเนื้อสัตว์ปีกส่งออกไปยังหลายประเทศในตะวันออกกลาง และญี่ปุ่น เดิมบริษัทเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สุกุณา โพลทรีย์ ฟาร์ม จำกัด กำลังเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมถึง กลุ่มสินค้าน้ำนม อาหารสัตว์เลี้ยง ถั่วเหลือง และโรงงานอาหารสัตว์



เว็บไซต์บริษัท  https://www.sugunafoods.co.in/
๒. กลุ่มอัมฤทธิ์ (Amrit Group) เป็นการรวมกลุ่ม ๖ บริษัท ที่มุ่งผลิตสัตว์ปีก ไข่ และปศุสัตว์ด้วยกันเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศอินเดีย เช่นเดียวกับคู่แข่ง สุกุณา ฟู้ดส์ กลุ่มอัมฤทธิ์ก็ได้แตกขยายธุรกิจตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๔ โดยเข้าสู่ตลาดไก่พันธุ์ (ไก่ไข่) และเริ่มทำตลาดในธุรกิจผักแช่แข็ง และนม





ประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นคาดว่า เศรษฐกิจเติบโตลดลงเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และจะตกลงมาจากลำดับ ๓ ลดลงเป็นลำดับ ๔ ของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก การผลิตเนื้อไก่คาดว่าจะเติบโตขึ้นจากปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ๑.๓๘ ล้านเมตริกตันเป็น ๑.๔๓ ล้านเมตริกตัน โดยการบริโภคต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก ๑๓.๓๘ กิโลกรัมเป็น ๑๔.๒๗ กิโลกรัม โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่
๑. มิตซูบิชิคอร์ป (Mitsubishi Corp.) เป็นผู้ประกอบการไก่เนื้อรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ครอบคลุมกิจการหลายอย่างทั้งอาหารสัตว์ และผู้ผลิตไข่ไก่ยังโนซานคอร์ป (Nosan Corp.) และผู้ผลิตเนื้อ และเนื้อแปรรูป โยเนะคิวคอร์ป (Yonekyu Corp.) ที่ช่วยเสริมธุรกิจให้แข็งแกร่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นมา มิตซูบิชิคอร์ปขยายกิจการไปยังหลายตลาด และในปี ค.ศ. ๒๕๖๐ วางแผนเพิ่มโรงเชือดโดยร่วมกับผู้ประกอบการในปักกิ่งเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต









เว็บไซต์บริษัท https://www.mitsubishicorp.com/jp/en/bg/food-industry-group/ 
๒. นิปปอนไวต์ฟาร์ม (Nippon White Farm) เป็นผู้ประกอบการผลิตไก่เนื้ออันดับ ๒ ของญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจนิปปอนแฮม (Nippon Ham Group) ส่วนเนื้อสด ประกอบด้วยฟาร์ม ๗๘ แห่ง โรงเชือด ๔ แห่ง และโรงฟัก ๔ แห่ง ผลิตเนื้อไก่ได้ ๓๖๐,๐๐๐ เมตริกตันต่อปี ครองสัดส่วนร้อยละ ๒๖ ของตลาดในญี่ปุ่น

ประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียจะมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ ๑๓ ของโลกในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ นี้ ผลิตเนื้อไก่ได้ราว ๑.๖๔ ล้านเมตริกตัน เชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น ๑.๙๑ เมตริกตันกลางทศวรรษหน้า การบริโภคเนื้อไก่ของประชากรคาดว่าจะเพิ่มจาก ๗.๑๒ กิโลกรัมเป็น ๗.๗๗ กิโลกรัม โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่
๑. ซีพี อินโดนีเซีย (CP Charoen Pokphand) หรือพีที เจริญโภคภัณฑ์ อินโดนีเซีย เป็นผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นกลุ่มในบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เชือดไก่เนื้อราว ๘๐ ล้านตัวต่อปี ครองตลาดอินโดนีเซียสัดส่วนร้อยละ ๖๖ และตลาดลูกไก่เนื้อร้อยละ ๓๕ นอกเหนือจากเป็นผู้นำการตลาดไก่เนื้อ ซีพี อินโดนีเซียยังเป็นผู้ผลิตอาหารไก่เนื้อรายใหญ่ที่สุดของประเทศ 










๒. แจ๊พฟา คอมฟีด (Japfa Comfeed) เป็นบริษัทในเครือแจ๊พฟา จำกัด ที่ตั้งอยู่ในสิงค์โปร์ เป็นผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่เป็นลำดับ ๒ ของอินโดนีเซีย จำนวนไก่เชือดในประเทศ ๓๗ ล้านตัวต่อปี เป็นธุรกิจอาหารครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ โดยมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ ๒๒สำหรับลูกไก่เนื้อ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยธุรกิจฟาร์มไก่พันธุ์ โรงเชือด โรงงานผลิตอาหารสัตว์ และสัตว์น้ำ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ยังขยายธุรกิจไปยังการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในนาม KKR&Co. L.P. คิดเป็นสัดส่วนของธุรกิจของบริษัทเป็นร้อยละ ๑๐





ประเทศเกาหลีใต้
เกาหลีใต้กำลังขึ้นแท่นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกเป็นลำดับที่ ๑๕ ในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ นี้ โดยสามารถผลิตเนื้อไก่ได้ ๗๙๒,๐๐๐ เมตริกตันต่อปี การบริโภคเนื้อไก่ต่อหัว ๑๔.๔๒ กิโลกรัม และเชื่อว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น ๑.๐๒ ล้านเมตริกตัน และ ๑๖.๑๕ กิโกกรัม โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้แก่
๑.กลุ่มฮาริม (Harim Group) เป็นผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ มีส่วนแบ่งทางการตลาดเกือบหนึ่งในสามของเนื้อไก่ที่ขายในประเทศ โดยจำหน่ายทั้งผลิตภัณฑ์สด และแช่แข็ง นอกจากการผลิตขายในประเทศ แล้วยังขยายธุรกิจไปยังสหรัฐฯอีกด้วย สำหรับบริษัทแม่ในเกาหลีใต้เพิ่งขยายธุรกิจชิปปิ้ง และจำหน่ายวัตถุดิบอาหารสัตว์อีกด้วย







๒. อีซี่ ไบโอ (Easy Bio) เป็นบริษัทที่พื้นฐานธุรกิจด้านอาหารสัตว์ และเป็นผู้ผลิตไก่เนื้อรายใหญ่ลำดับที่สองของประเทศ โดยลงทุนในบริษัทด้านการผลิตสัตว์ปีกทั้งหมด ๕ บริษัท ได้แก่ Maniker, SungHwa Food, DM Food, M&M และ Jayeonilga บริษัทยังจำหน่ายอาหารสัตว์ และอุปกรณ์ในฟาร์มในตลาดย่านภูมิภาคเอเชียอีกหลายประเทศอีกด้วย









เอกสารอ้างอิง

ผู้ผลิตไก่เนื้อยูเครนรุกส่งออกอียู


การส่งออกเนื้อไก่จากยูเครนไปยังอียูทะยานสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สร้างความกังวลต่ออนาคตของเกษตรกรในสหภาพยุโรปว่ากำลังตกอยู่ในสถานการณ์สุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงใหม่ระหว่างยูเครน และอียู ที่ปรับปรุงล่าสุด พยายามสร้างเงื่อนไขด้านปริมาณการส่งออก และผู้ผลิตยูเครนจึงเริ่มให้ความสนใจต่อตลาดยูโรป
การนำเข้าสินค้าสัตว์ปีกจากยูเครนไปยังตลาดอียูจัดเตรียมขึ้นตามข้อตกลง Deep and Comprehensive Free Trade Areas (DCFTA) โดยกำหนดให้ยูเครนสามารถเข้าตลาดเดียวของยุโรปในเฉพาะบางภาคส่วน และอนุญาตให้นักลงทุนอียูในภาคส่วนดังกล่าวให้ปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับประเทศสมาชิกในอียู ร่างแก้ไขใหม่นี้ยังรอการรับรองจากสภายุโรป คาดการณ์ว่า ยูเครนจะได้รับอนุญาตให้ได้โควต้าการส่งออกเนื้อไก่ยกเว้นภาษีเพิ่มขึ้นอีก ๕๐,๐๐๐ ตันให้กับยูโรป โดยร่างแก้ไขนี้คาดว่าจะทำให้เกมส์เปลี่ยนไปทันที
ปัจจุบัน ยูเครนสามารถส่งออกซากไก่ได้ ๒๐,๐๐๐ ตัน และเนื้อสัตว์ปีกอีก ๒๐,๐๐๐ ตัน รวมถึง เนื้ออกไก่ โดยไม่เสียภาษี อย่างไรก็ตาม ยังไม่รวมสินค้าเนื้อไก่ติดกระดูกที่เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าน้อย เชื่อว่าเมื่อถึงเวลาของ DCFTA แล้ว จะไม่เป็นที่สนใจของผู้ส่งออกสัตว์ปีกในยูเครน อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสัตว์ปีกยักษ์ใหญ่ในยูเครนอย่าง MHP พบว่าสามารถส่งออกเนื้ออกไก่ติดกระดูกได้โดยได้รับการยกเว้นภาษีให้กับผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปในยุโรปเพื่อตัดกระดูกออกอีกที
 บริษัทได้ซื้อบริษัทแปรรูปเนื้อในเนเธอร์แลนด์ แล้วเพิ่มการส่งออกเนื้อไก่ติดกระดูกเพิ่มขึ้นไปยังอียูจาก ๓,๕๐๐ ตันในปี พ.ศ.๒๕๕๙ เป็น ๒๗,๐๐๐ ตันในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สินค้าทั้งหมดที่ส่งออกอยู่ในกลุ่มรายการที่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยไม่มีการจำกัดปริมาณ ในห้าเดือนแรกของปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นี้ เนเธอร์แลนด์เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของเนื้อสัตว์ปีกจากยูเครนในโลกตามหลังซาอุดิอาระเบีย แค่เนเธอร์แลนด์เพียงประเทศเดียวนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากยูเครน ๑๗,๑๐๐ ตัน รวมมูลค่าราว ๑,๖๐๐ ล้านบาท
ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ บริษัท MHP หยุดการซื้อจากผู้ผลิตสัตว์ปีกในสโวเวเนีย Perutnina Ptuj เชื่อว่ามีเป้าหมายในการกระตุ้นศักยภาพการส่งออกไปยังตลาดอียู การขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้คณะกรรมการธิการยุโรปเตรียมการรองรับ และการแก้ไขข้อตกลง DCFTA ก็ออกแบบมาเพื่อประนีประนอมให้เกิดความพึงพอใจทุกฝ่าย

ไม่มีใครชนะ   
องค์กรในยุโรปเสียงของภาคธุรกิจเนื้อสัตว์ปีกในยุโรป (AVEC,  The Voice of Europe's Poultry Meat Sector) โดยทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงเพื่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับองค์กรระหว่างประเทศ และผู้มีอำนาจตัดสินจใน โดยมีวัตถุประสงค์หลักด้านสุขภาพสัตว์ และสวัสดิภาพสัตว์ ความปลอดภัยอาหาร และคุณภาพ การค้า และการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
AVEC ได้แสดงความเห็นตรงกันข้ามกับความคาดหมายของอียู หลังการประกาศข้อตกลงทางการค้าจะทำให้เกิดวิกฤติกับประเทศสมาชิก โดย AVEC แสดงความเสียใจที่บริษัทในยูเครนบางแห่งพยายามหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามเงื่อนไขของ DCFTA และใช้กลไกอื่นๆที่ผิดต่อเจตนารมณ์ของข้อตกลง DCFTA ฉวยโอกาสในการส่งสินค้าปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้เป็นพิเศษ AVEC คัดค้านว่า ภาคธุรกิจสัตว์ปีกของยุโรปเกิดความเสียหายแล้วจากความผิดพลาดของคณะกรรมาธิการยุโรป ถึงกระนั้น AVEC ก็เข้าใจถึงความซับซ้อนของกลไกด้านกฎหมาย และการเมืองของการเจรจาต่อรองครั้งนี้ และภาคธุรกิจสัตว์ปีกของยุโรปจะพยายามหาหาทางออกสำหรับแก้ไขปัญหา และเชื่อว่าจะพบได้ในไม่ช้านี้  
สำหรับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกยูเครนแล้ว ข้อตกลง DCFTA เป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ แต่จะเป็นการดี หากโควต้าการส่งออกจะเพิ่มสูงกว่านี้ ยอดการส่งออกสินค้าที่ได้ยกเว้นภาษี ๗๐,๐๐๐ ตันของการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกยังไม่เพียงพอ ถึงกระนั้น เชื่อว่า ก็ยังเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ทำให้ทราบว่าจะเจรจาต่อรองกันอย่าไรตั้งแต่เริ่มต้น
ข้อตกลงการค้านี้้อาจทำให้เสียงเรียกร้องของผู้ประกอบการยุโรปลดลง และสร้างความเชื่อมั่นต่อไปว่าจะเกิดการพัฒนาธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืน และเกิดความโปร่งใสในตลาดสัตว์ปีกอียู ขณะเดียวกัน ก็จะสอดรับกับความคาดหมายที่ถูกต้องของบริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกยูเครนที่จะส่งออกสินค้าเนื้อสัตว์ปีกให้มีความหลากหลายไปยังประเทศสมาชิกในอียู ยูเครนจะต่อรองได้ดีกว่านี้ในรอบถัดไปสำหรับข้อตกลงทางการค้า DCFTA กับอียู

 สัมผัสได้ถึงโรคซีโนโฟเบีย
โรคซีโนโฟเบีย เป็นอาการเกลียดกลัวชาวต่างชาติ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา บริษัท MHP ผู้ประกอบการชั้นนำของยูเครนต้องเผชิญกับวิกฤติอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากสื่อหนังสือพิมพ์ยุโรปทั้งกล่าวหา และให้ข้อมูลที่ผิดว่า MHP ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์ และฉวยโอกาส ข้อกล่าวหาต่างๆเหล่านี้ล้วนไม่เป็นความจริง
เวลานี้มีการถกเถียงกันอย่างอย่างหนัก และสัมผัสได้ถึงโรคฟีโนโฟเบียต่อประเด็นการส่งออกของยูเครนไปยังอียู และโดยปราศจากคำถามว่าประเด็นปัญหาทั้งหลายเหล่านี้กล่างอ้างเกินจริงโดยกลุ่มนักล็อบบี้ที่มีผลประโยชน์แอบแฝง หามองภาพตามความเป็นจริง การส่งออกของยูเครนมีสัดส่วนเพียงร้อยละ ๑ ของตลาดสัตว์ปีกอียูเท่านั้น ยังมีสินค้าสัตว์ปีกที่มีปริมาณการส่งออกไปยังยูเครนจากอียูมากกว่าด้วยซ้ำ แต่ไม่เคยถูกหยิบยกมาคุยกัน ผู้บริหารของ MHP อ้างว่า กำลังการผลิตของยูเครนเวลานี้ถึงขีดจำกัดสูงสุดแล้ว หากยังไม่มีแผนโครงการขยายกำลังการผลิตระยะห้าปี และเม็ดเงินลงทุนมหาศาลที่ต้องหลั่งไหลเข้ามา แต่ยังไม่เห็นสัญญาณเหล่านี้ในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น การถกเถียงด้วยความวิตกกังวลว่าการส่งออกเนื้อไก่จากยูเครนจะทะลักเข้ามาในตลาดสัตว์ปีกอียูจึงไม่มีมูลความจริงเลย
ผู้บริหารบริษัท MHP ยังอ้างว่า ยูเครนเองก็มีการเลี้ยงไก่ได้ตามมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ ไม่ได้เป็นอย่างที่สื่อมวลชนบางแห่งรายงานไว้ ภาครัฐพยายามสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นสิ่งปรกติในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ทั่วโลก และระบบการสนับสนุนดังกล่าวก็เห็นได้ชัดเจนทั้งในอียู และสหรัฐฯ ดังนั้น ยูเครนได้ใช้ระบบการคืนภาษีเมื่อผู้ประกอบการขยายการลงทุน และธุรกิจเติบโต เปรียบเทียบกับการให้เงินอุดหนุนเกษตรกรโดยตรงของอียูที่ใช้เงินถึงร้อยละ ๔๐ ของงบประมาณ ในกรณีของอุตสาหกรรมฟาร์มในสหราชอาณาจักร เกษตรกรหยุดการผลิต หากไม่ได้รับเงินอุดหนุน และเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร และเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง การให้เงินอุดหนุนการทำเกษตกรรมกลายเป็นวิธีการพื้นฐานในภาคเกษตรกรรมแล้ว
 สำหรับประเด็นสวัสดิภาพสัตว์ ไม่ใช่สิ่งที่จะถกเถียงกันในบริษัท MHP เนื่องจากบริษัทมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของภาครัฐบาล และยังมีสถาบันทางการเงินเช่น IFC และ ERBD ให้การสนับสนุนเป็นเวลามากกว่า ๑๕ ปีแล้ว มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ระดับสูงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมบริษัท MHP สังเกตได้จากการตรวจประเมินล่าสุดในครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. ๒๐๑๙ โดย DG Santa โดยได้รับคะแนนการประเมินสูงที่สุดเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น บริษัท MHP กำลังผลิตสัตว์ปีกไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ และกำลังดำเนินการไปตามแผนการเลี้ยงสัตว์ปีกอย่างยั่งยืน โดยลดการผลิตคาร์บอนในอนาคตอันใกล้นี้

กระแสลมเปลี่ยนทิศ

ประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มสัตว์ปีกยุโรปคือ MHP กำลังอยู่ในระยะที่สองของฟาร์มสัตว์ปีก Vinnitsa poultry farm อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทจะสามารถผลิตเนื้อไก่ได้ ๒๖๐,๐๐๐ ตันต่อปีเพิ่มขึ้นจากยอดการผลิตเดิม และประชากรบางส่วนในยุโรปเชื่อว่าเป็นส่วนสำคัญที่ไปอยู่บนชั้นวางสินค้าทั้งหมดของอียู ขณะที่ MHP ยืนยันว่า ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อการส่งออก ไม่ใช่สำหรับตลาดยุโรปอย่างเดียว โดย Vinnitsia จะเป็นผู้ประกอบการครบวงจรด้านสัตว์ปีกที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยยอดการผลิตที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะส่งไปยังตะวันออกกลาง จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะเติบโตอย่างรวดเร็ว การเติบโตในตลาดยุโรปต่ำลงอย่างมาก และมีข้อจำกัดจากข้อตกลงตลาดเสรีระหว่างอียู และยูเครน
ควรตระหนักไว้อย่างหนึ่งว่า สถานการณ์โรคระบาดที่ทำลายอุปสงค์โปรตีนจากสัตว์ และการไหลเวียนของสินค้าในจีน และตะวันออกเฉียงใต้จากโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน (ASF) ส่งผลต่อความต้องการ และราคาของเนื้อสัตว์ไปอีกจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ข้อวิตกกังวลว่า การนำเข้าเนื้อไก่จากยูเครนไปยังอียูในอีกไม่กี่ปีนี้จึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในตลาดเนื้อสัตว์โลกวันนี้ การเคลื่อนไหวทางการตลาดที่สามารถเห็นได้คือ การส่งออกไปยังอียูลดลง เนื่องจาก ความต้องการเนื้อไก่จากตะวันออกกลาง จีน และญี่ปุ่น อันเป็นตลาดที่บริษัท MHP ได้รับการรับรอง ขณะที่ บริษัทส่วนใหญ่ในอียูยังไม่ให้การรับรอง
สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลเบื้องหลังว่าทำไมบริษัท MHP จึงเริ่มต้นศึกษาโอกาสของข้อตกลง M&A ภายนอกยุโรป บริษัท MHP กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะซื้อทรัพย์สินในพื้นที่ใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง ในยุโรป บริษัท MHP กำลังขอกู้เงิน ๓.๓ พันล้านบาทจาก ERBD เพื่อขยายกิจการโรงงาน Perutnina Ptuj
ญี่ปุ่นให้การรับรองยูเครนส่งออกไก่อย่างเป็นทางการ
เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคมที่ผ่านมานี้เอง ยูเครนได้รับการรับรองให้ส่งออกเนื้อไก่ไปยังญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ภายหลังทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงให้การรับรองด้านสุขภาพสัตว์ โดยกระทรวงความปลอดภัยอาหารแห่งรัฐยูเครนอ้างว่า ยูเครนส่งออกเนื้อไก่ไปแล้ว ๒๑๑,๐๐๐ ตันในครึ่งแรกของปีไปยังสามประเทศที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของยูเครน ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย เนเธอร์แลนด์ และสโลวาเกีย

เอกสารอ้างอิง
Clements M. Ukraine poultry poses no threat to EU producers. [Internet]. [Cited 2019 Sep 16]. Available from: https://www.poultryworld.net/Meat/Articles/2019/9/Ukraine-poultry-poses-no-threat-to-EU-producers-472919E/  
Reuters, 2019. Ukraine to export poultry meat to Japan. [Internet]. [Cited 2019 Aug 21]. Available from: https://www.reuters.com/article/ukraine-poultry-japan/ukraine-to-export-poultry-meat-to-japan-idUSL5N25H2WS

ภาพที่ ๑ การส่งออกเนื้อไก่จากยูเครนไปยังอียูทะยานสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (แหล่งภาพ https://inventure.com.ua/en/news/ukraine/mhp-seeks-to-invest-over-dollar250-mln-in-development-in-2018) 


วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เคล็ดลับลดซัลโมฯที่โรงเชือดแบบเร่งด่วน ต้องเริ่มตั้งแต่ที่ฟาร์ม


การจัดการฟาร์มมีบทบาทอย่างมากต่อการลดระดับการปนเปื้อนเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และซัลโมเนลลา ที่ก่อโรคอาหารเป็นพิษในมนุษย์ ฟาร์มสามารถช่วยลดซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์ให้โรงเชือดได้มาก และเป็นเคล็ดลับแบบเร่งด่วนสำหรับการลดเชื้อซัลโมเนลลา และแคมไพโลแบคเตอร์

การปนเปื้อนเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษในเนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์ เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียร่วมสองล้านรายต่อปีในสหรัฐฯ ผลการวิจัยร่วมกับศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค องค์การอาหารและยา และกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า การติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในมนุษย์ร้อยละ ๓๕ เกิดจากเนื้อไก่ และไก่งวง การติดเชื้อซัลโมเนลลาร้อยละ ๓๖ เกิดจากเนื้อไก่ ไก่งวง โค และสุกร

ความปลอดภัยอาหารสำหรับเนื้อสัตว์ปีกต้องเริ่มต้นตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เนื่องจาก เชื้อแบคทีเรียตั้งต้นจากที่นั่น แล้วเข้าสู่โรงเชือด ผ่านสัตว์ที่ถูกผลิตเป็นอาหาร

อ้างตามรายงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ความปลอดภัยอาหารจากฟาร์มสู่ส้อม กลยุทธของฟาร์ม และอาหารสัตว์ สามารถช่วยสนับสนุนความปลอดภัยการผลิตเนื้อสัตว์ปีกสหรัฐฯได้ โดยเสนอทางเลือก ๓ ข้อที่ช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาในโรงเชือดได้

๑. กลยุทธการใช้โปรไบโอติก และพรีไบโอติกในอาหารสัตว์ เพื่อแก่งแย่งการสร้างนิคมยับยั้งเชื้อก่อโรคด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์

๒. กลยุทธการเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น การให้วัคซีน สารฆ่าเชื้อ และน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

๓. เข้มงวดความปลอดภัยทางชีวภาพ ลดการสัมผัสเชื้อก่อโรคที่เข้าสู่ หรือแพร่กระจายภายในฝูงสัตว์ปีก หรือพนักงานเลี้ยงสัตว์ปีก โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดการปนเปื้อนชุดปฏิบัติงาน และเครื่องมือ ควบคุมสัตว์พาหะ สุขอนามัยอาหารสัตว์ และน้ำ การแยกกักกันสัตว์ที่ติดเชื้อ และการจัดการโรงเรือนอย่างเหมาะสม

ตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ

สวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และเดนมาร์ก เป็นตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้แผนควบคุมความปลอดภัยอาหาร เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาทั้งในสัตว์ปีก และสุกร โดยกำหนดระบบความปลอดภัยทางชีวภาพที่เข้มงวด รวมถึง การทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ การทดสอบ และตรวจติดตามเชื้อซัลโมเนลลาในสัตว์ และอาหารสัตว์ การทำลายสัตว์ปีกพันธุ์ที่ติดเชื้อ หรือคัดทิ้ง และการแยกเชือดฝูงสัตว์ปีกที่ให้ผลบวกต่อเชื้อซัลโมเนลลา

ผลความสำเร็จประจักษ์ให้เห็นว่า ไม่พบเชื้อซัลโมเนลลาเลยจากตัวอย่างซากสัตว์ปีกในสวีเดนทั้งหมด ๔,๐๓๓ ตัวอย่างในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ฝูงสัตว์ปีกในนอร์เวย์ และฟินแลนด์ปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาน้อยกว่าร้อยละ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และผู้ติดเชื้อแบคทีเรียในเดนมาร์กที่เคยสูงถึง ๖๐๐,๐๐๐ รายในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ไม่พบปัญหาอีกเลยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘

ในทางตรงกันข้าม ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีกดิบที่ถูกควบคุมโดย USDA ปนเปื้อนด้วยเชื้อซัลโมเนลลาราวร้อยละ ๕ ของซากไก่ทั้งตัว และร้อยละ ๑๕ ของชิ้นส่วนไก่ เช่น ขา อก และปีก และร้อยละ ๔๐ ของเนื้อไก่บด

โปรไบโอติก

ผลการศึกษา พบว่า โปรไบโอติกสามารถให้กับสัตว์ปีกเพื่อลดความชุกของเชื้อซัลโมเนลลา โปรไบโอติกที่ทราบชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ (Defined probiotics) ประกอบด้วยเชื้อแลคโตบาซิลลัส บาซิลลัสทนความร้อน สามารถใช้ผสมในอาหารสัตว์ที่ผ่านความร้อนได้

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบจากผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ พบว่า การใช้โปรไบโอติกที่ทราบชนิดผสมลงในอาหารสัตว์โดยตรง (Defined direct-fed probiotics) มีประสิทธิภาพในการลดเชื้อซัลโมเนลลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลดีทางเศรษฐกิจจากการใช้โปรไบโอติกในสัตว์ปีกช่วยชดเชยต้นทุนของผลิตภัณฑ์ได้สำหรับการจัดการในฟาร์มไก่เนื้อ

วัคซีน

ผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนสำหรับฟาร์มไก่พันธุ์ (เนื้อ) ช่วยลดอุบัติการณ์เชื้อซัลโมเนลลา และระดับของเชื้อในลูกไก่เนื้อ การทดลองใช้ในบริษัทผู้ผลิตสัตว์ปีกรายหนึ่งในสหรัฐฯ โดยการใช้แผนการให้วัคซีนสำหรับฟาร์มไก่พันธุ์ พบว่าช่วยลดความชุกของเชื้อซัลโมเนลลาในตัวไก่ที่เข้าสู่โรงเชือด ขณะที่ ผลการศึกษาอีกแห่งหนึ่ง พบว่า การให้วัคซีนไก่พันธุ์มีต้นทุนต่ำกว่าการให้ในไก่เนื้อ เนื่องจาก โดยเฉลี่ยแล้ว ไก่พันธุ์ ๑ ตัวจะให้ลูกไก่เนื้อ ๑๘๐ตัวต่อปี

การให้วัคซีนในสัตว์ปีกยังเป็นประโยชน์ทางสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก พบว่าความชุกของการปนเปื้อนเชื้อซัลโมเนลลาที่ลดลงในไก่ลงครึ่งช่วยช่วยลดความเสี่ยงจากการกินไก่ลงได้มากกว่าร้อยละ ๕๐ การลดลงของผู้ป่วยจากการติดเชื้อ ซัลโมเนลลา เอนเทอไรทิดิส ในสหราชอาณาจักร และยุโรป มีความสัมพันธ์กับการให้วัคซีนในแม่ไก่ไข่

 กลยุทธอื่นๆ

การจัดการที่ฟาร์มบางอย่างใช้กันทั่วโลก แต่ยังไม่มีการใช้งานในสหรัฐฯ เช่น โซเดียม คลอเรต สามารถช่วยลดซัลโมเนลลาในไก่ และ อี.โคไล ในโค และสุกรได้

แคมไพโลแบคเตอร์เป็นประเด็นท้าทายสำหรับผู้ประกอบการในการควบคุม ประเทศสวีเดนประสบความสำเร็จในการใช้มาตรการสุขอนามัยในฟาร์มเพื่อควบคุมเชื้อ เช่น การสร้างระบบป้องกันหนู และนก เข้ามาในฟาร์ม การควบคุมคนงานเข้าออกโรงเรือน ผลลัพธ์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถหยุดการปนเปื้อนจากรองเท้า และเสื้อผ้าลงได้

ผลวิจัยบางแห่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ และการปรากฏของเชื้อแบคทีเรียในแหล่งน้ำในฟาร์ม แต่ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

McDougal T. 2019. Interventions reducing the risk of poultry meat contamination. [Internet]. [Cited 2019 May 29]. Available from: https://www.poultryworld.net/Health/Articles/2019/5/Interventions-reducing-the-risk-of-poultry-meat-contamination-433697E/


วิวัฒนาการเชื้อไวรัสนิวคาสเซิล

  ขณะที่ วัคซีนช่วยลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคนิวคาสเซิล การระบาดก็ยังพบได้อยู่ โดยมีอัตราการตายสูง และกำจัดสัตว์ที่ติดเชื้อ มีผลกระทบเ...