เทคโนโลยียุคสงครามโลกครั้งที่
๒ โดยนักล่าสังหารเชื้อแบคทีเรียนามว่า แบคเทอริโอฝาจ ปัดฝุ่นขึ้นอีกครั้งโดยประดานักวิจัยที่หลั่งไหลทุ่มทุนสร้างกันอย่างครึกโครมทั่วทั้งโลก
เซิร์ชหาคีย์เวิร์ดลดซัลโมฯก็จะเจอแต่งานวิจัยใหม่ค้นหาฝาจดีๆไว้จัดการกับเชื้อก่อโรคอาหารเป็นพิษ
รวมถึง ผลงานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเนวาดา อ้างว่า เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ช่วยลดเชื้อซัลโมเนลลาในผลิตภัณฑ์เนื้อได้อยู่หมัดถึง
๙๐ เปอร์เซ็นต์ สำหรับประเทศไทย อยากให้ลองคงไม่มีให้ลอง เพราะนำเข้าไม่ได้
ผู้ประกอบการใดมีห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ และนักวิจัยเจ๋งๆต้องค้นหากันเอง
ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่ใกล้ตัว ซื้อหาไม่มีขายครับ...
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอมิลตัน เดอ เมลโล จากวิทยาลัยเกษตรกรรม
เทคโนโลยีชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติที่มหาวิทยาลัยเนวาดา เรโน ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมสมาคมวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์นานาชาติแห่งสหรัฐฯ
เพื่อลดเชื้อซัลโมเนลลาในเนื้อสัตว์ปีกบด เนื้อสุกรบด และเนื้อโคบด
โดยสามารถลดลงได้มากกว่า ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ผู้วิจัยกล่าวอย่างตื่นเต้นปลาบปลื้มเคร้าน้ำตาว่า
ผลการวิจัยนั้นดีเลิศประเสริฐศรี
ความปลอดภัยอาหารนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ของพวกเขา และเชื้อ ซัลโมเนลลา
ก็เป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีความชุกสูงที่สุดในห่วงโซ่การผลิตอาหารของชาติ
ผู้วิจัยมาดเซอร์รายนี้ได้ทดลองเติมเชื้อ ซัลโมเนลลา ๔ ชนิดลงในผลิตภัณฑ์เนื้อ
แล้วจัดการด้วยแบคเทอริโอฝาจ ไวรัสสังหารจากยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒
ระหว่างการผสมนั้นเอง เชื้อแบคเทอริโอฝาจพบได้ตามปรกติในสิ่งแวดล้อม มนุษย์เพียงเลือกนำมาใช้ให้ถูกเชื้อ
ถูกเวลา และถูกสถานที่ โดยแบคเทอริโอฝาจจะฆ่าสังหารไล่ล่าเฉพาะเชื้อแบคทีเรียบางชนิดอย่างจำเพาะเจาะจงตามจีนัส
และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช
การทดลองเติมเชื้อ ซัลโมเนลลา ลงในเนื้อสัตว์ และชิ้นส่วนที่แช่ตู้เย็น
แล้วผสมแบคเทอริโอฝาจก่อนจะเข้าเครื่องบด พบว่า
เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่เชื้อแบคทีเรีย และทำลายลงได้ทันที
ภายหลังจากบดเรียบร้อยแล้ว เชื้อ ซัลโมเนลลา ลดลงได้ถึง ๑๐ เท่า ผลการวิจัยนี้กระตุ้นให้นักวิจัยมีความหวังที่จะนำเทคโนโนโลยีนี้มาใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอาหาร
เดอ เมลโล
ถูกเชิญให้บรรยายผลงานวิจัยที่งานประชุมวิชาการครั้งที่ ๖๙ AMSA Reciprocal
Meat Conference ในเท็กซัส
นักวิจัย เอมิลตัน เดอ เมลโล ทดลองลดเชื้อ
ซัลโมเนลลา ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ จากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์ในวิทยาลัยเกษตรกรรม
เทคโนโลยีชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติที่มหาวิทยาลัยเนวาดา เรโน
แหล่งข้อมูล World Poultry (29/6/16)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น