สูตรสำเร็จยาสามัญประจำบ้านสำหรับการควบคุมซัลโมเนลลาคือ
วัคซีนเชื้อตาย หรือแบคเทอรินต่อเชื้อซัลโมเนลลา เมื่อมีด้านสว่างก็ย่อมมีด้านมืด
ดังกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯเมื่อเร็วๆนี้ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึง
พ.ศ.๒๕๕๘ ปีที่แล้ว เกิดการระบาดของกลุ่มโรคพยาธิสภาพของตับเลือดออก (Hemorrhagic hepatopathy syndrome) ในฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่
๗ แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ฟาร์มที่เกิดโรคพบว่า
ไก่ตายสูงผิดปรกติเล็กน้อยภายหลังการให้วัคซีนชนิดแบคเทอรินต่อเชื้อ ซัลโมเนลลา
เอนเทอไรทิดิส สายพันธุ์ของไก่ที่เกิดโรคเป็น เอชแอนด์เอ็น และลอห์แมนน์ไวท์
วิธีการให้วัคซีนมีทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้ออก
หรือใต้ผิวหนังในบริเวณขาระหว่างอายุ ๑๑ ถึง ๑๘ สัปดาห์ อาการทางคลินิกเริ่มตั้งแต่ไม่แสดงอาการจนถึงขาพิการ
ไม่พยายามเดิน ท้องเสียเป็นสีเขียว ขย้อนอาหาร อัตราการตายระหว่าง ๐.๑๖ ถึง ๑.๓๘
เปอร์เซ็นต์ต่อสัปดาห์ โดยอัตราการตายสูงที่สุด ๒ ถึง ๓
สัปดาห์ภายหลังการให้วัคซีน แล้วลดลงอย่างรวดเร็ว ผลการผ่าซาก พบว่า ตับโต
โดยมีเลือดออกกระจายทั่วไป และหย่อมเนื้อตายสีซีด เลือดออกรุนแรงในลำไส้ หัวใจ
และกระเพาะแท้ในไก่บางตัว จุลพยาธิวิทยา
พบกล้ามเนื้ออักเสบแบบแกรนูโลมาที่มีเซลล์ยักษ์ล้อมรอบ
และลุกลามเข้าสู่กล้ามเนื้อชั้นลึกลงไป และใต้ผิวหนังตรงตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน กล้ามเนื้ออักเสบ
พบแวคิวโอลใสที่ให้ผลบวกต่อการย้อมลิปิดด้วยสีย้อมพิเศษ Oil Red O หยดของสี Oil Red O พบได้ในตับ และลำไส้ที่เกิดรอยโรค
การย้อมด้วยสีพิเศษ Congo red บ่งชี้ว่ามีการปรากฏของสารอมัยลอยด์ปริมาณปานกลางถึงรุนแรงในกล้ามเนื้ออก
และปานกลางในตับ ม้าม และลำไส้ การตรวจสอบแอนติเจนของเชื้อซัลโมเนลลาสามารถพบได้ในตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน
และตับโดยอาศัยเทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคม ไม่พบเชื้อไวรัส หรือสารพิษใดๆจากตัวอย่างตับ
ม้าม ลำไส้ และกล้ามเนื้อหน้าอก และสามารถตรวจพบเชื้อแบคทีเรียได้บ้างเชื่อว่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภายหลังการตายของสัตว์
แหล่งข้อมูล
Carnaccini S, Shivaprasad HL, Cutler G, Bland M, Meng XJ, Kenney SP, Bickford
AA, Cooper G, Charlton B, and Sentíes-Cué CG. 2016. Characterization
of Seven Outbreaks of Hemorrhagic Hepatopathy Syndrome in Commercial Pullets
Following the Administration of a Salmonella Enteritidis Bacterin in California.
Avian Dis. 60(1): 33-42
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น